ยาเพนิซิลลิน หรือยาปฏิชีวนะ (Penicillin)
ปัจจุบัน มีการใช้ยาปฏิชีวนะกันอย่างกว้างขวาง กว่า 15% ของยาที่ขายกันอยู่ทั่วโลกล้วนแต่เป็นยาปฏิชีวนะ ต้องขอบคุณความบังเอิญในปี 1928 เมื่อ
Alexander Fleming นายแพทย์ นักชีววิทยา นักเภสัชวิทยา และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ ไม่ได้ทำความสะอาดห้องทดลอง ก่อนจะลาไปพักผ่อน เมื่อเขากลับมายังห้องทำงาน ได้สังเกตุเห็นเชื้อราแปลกๆ เจริญเติบโตอยู่บนจานอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงเชื้อรา แต่รอบๆ เชื้อราเหล่านั้นไม่มีการเจริญของเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นเลย นั่นจึงทำให้เขานำเชื่อรามาศึกษาและใช้ผลิตเป็นเพนิซิลลินได้ในที่สุด
พลาสติก (Plastic)
พลาสติกถูกคิดค้นขึ้นโดย
Leo Hendrik Baekeland ซึ่งเป็นนักเคมีที่ต้องการผลิตสารอื่นมาใช้แทนสาร Shellac เพื่อเป็นฉนวนในเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ แต่ในขณะที่เขาทำการทดลองสาร Bakelite เขากลับค้นพบวัสดุใหม่ที่สามารถพิมพ์รูปขึ้นได้ ทั้งยังทนความร้อนได้โดยไม่บิดงอ ซึ่งเขาคิดว่าจะนำไปใช้ในการบันทึกเครื่องเสียง แต่มันกลับถูกนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ นั่นก็คือพลาสติกที่เราใช้กันจนถึงทุกวันนี่เอง
โค้ก (Coca Cola)
เครื่องดื่มยอดฮิตนี้ ถูกค้นพบโดย
John Pemberton ทหารผ่านศึกที่ผันตัวเองมาเป็นคนปรุงยาในเมือง Atlanta ซึ่งเขาต้องการจะค้นหายารักษาอาการปวดหัว จึงได้ทำการผสมยา (ที่ยังคงถูกปิดเป็นความลับจนปัจจุบัน) ออกมา และมันก็ถูกวางขายตามร้านยา ซึ่งสูตรการทำดั้งเดิมนั้น ด้วยความที่มันเป็นยา จึงมีการใส่โคเคนลงไปจริงๆ แต่ 8 ปีต่อมาแต่สุดท้าย มันกลับกลายเป็นเครื่องดื่มที่โด่งดังของมวลมนุษยชาติ และกลายเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มบรรจุขวดที่ขายดีที่สุดในโลก
ยางวัลคาไนซ์
Charls Goodyear ได้ใช้ความพยายามนานนับ 10 ปี ในการค้นหาวิธีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติยางให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยคุณสมบัติยางที่ต้องการ คือ ต้องทนต่อความร้อนและความเย็น แต่เขาก็ไม่สามารถเปลี่ยนคุณสมบัติของยางให้เป็นตามที่ต้องการได้
จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้ทำส่วนผสมของยาง กำมะถัน และตะกั่ว ตกลงไปในเตาที่กำลังร้อนอยู่ ทำให้ส่วนผสมทั้งสามหลอมรวมกันและไหม้เกรียมเป็นสีดำ เมื่อเขาหยิบสิ่งที่เกิดขึ้นมา และสังเกตุดูเห็นว่ามีความแข็งแรงแต่น่าจะนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลังจากการค้นพบยางวัลคาไนซ์โดยบังเอิญของ Goodyear ปัจจุบันนี้มีการนำยางชนิดนี้มาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น ยางรถยนต์และรองเท้า (Vulcanization)
เทฟลอน (Teflon)
เทฟลอน โพลิเมอร์ที่สำคัญที่สุดในโลกก็ว่าได้ แต่การคิดค้นมันนั้นพบโดยบังเอิญในขณะที่กำลังมีการสร้างสารทำความเย็น โดยการสังเกตเห็นว่าด้านในขวดนั้นมีสารเคมีตัวหนึ่งลักษณะมันเงาเคลือบอยู่และไม่เกิดปฎิกริยากับสารเคมีอื่น ๆ จนดูเหมือนว่ามันปกติมาก และนั่นคือเทฟลอนในปัจจุบัน
เครื่องกระตุ้นหัวใจ (THE PACEMAKER)
อีกหนึ่งการประดิษฐ์ที่ดูเหมือนมาจากความผิดพลาดนั่นก็คือ
เครื่องกระตุ้นหัวใจ ที่ในปี 1941 วิศวกรไฟฟ้าชื่อ
จอห์น ฮอปปส์ (John Hopps) ได้รับมอบหมายจากกองทัพเรือให้วิจัยปัญหาอุณหภูมิร่างกายต่ำผิดปกติ
เขาพยายามค้นคว้าหาวิธีที่ดียิ่งขึ้นในการปรับอุณหภูมิในร่างกายของคนที่อยู่ในน้ำหรือในอากาศหนาวเย็นนานๆ ให้อบอุ่นอย่างรวดเร็ว ฮอปส์เลือกใช้การกระจายคลื่นวิทยุความถี่สูง และทันใดนั้นเขาสังเกตว่าการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าทำให้หัวใจเต้นอีกครั้งหลังจากหยุดไปเพราะอากาศหนาวเย็นจัด ซึ่งในปี 1950 เครื่องกระตุ้นหัวใจเครื่องแรกถูกสร้างขึ้นโดยอิงกับการค้นพบของฮอปส์ แต่อุปกรณ์ดังกล่าวเทอะทะเกินไป ซ้ำบางครั้งยังทำให้ผิวหนังคนไข้ไหม้
อุปกรณ์บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ
ดร.วิ ลสัน เกรตแบตช์ เป็นผู้ค้นพบโดยบังเอิญอีกเช่นกันในการพัฒนาอุปกรณ์บันทึกอัตราการเต้นของ หัวใจ จากการสอดตัวต้านทานกระแสไฟฟ้าเข้าสู่อุปกรณ์ผิดตัว ทำให้สามารถจับจังหวะการสั่นของเครื่องวัดกำลังไฟฟ้าที่คล้ายกับการเต้นของ หัวใจ สองปีหลังจากนั้น เกรตแบตช์สร้างเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบปลูกถ่ายในร่างกายสำเร็จโดยนำความผิด พลาดนี้มาประยุกต์
โพสต์-อิต (Post-it)
กระดาษโน้ต
โพสต์-อิต ผลิตภัณฑ์จากการทดลองที่โชคร้ายของ
สเปนเซอร์ ซิลเวอร์ (Spencer Silver) นักเคมีที่ทำงานอยู่กับบริษัท 3M โดยในปี 1968 สเปนเซอร์พยายามคิดค้นการทำให้เทปที่มีใช้อยู่เหนียวติดทนนานยิ่งขึ้น โดยใช้วัสดุที่หนาจนไม่ยอมจมลงในพื้นผิว ทำให้ไม่สามารถนำไปใช้ในการผลิตเทปได้
การค้นพบนี้ถูกลืมไป จนกระทั่งวันหนึ่ง Art Fry เพื่อนร่วมงานของสเปนเซอร์ ก็คิดค้นวิธีในการดัดแปลงสิ่งนั้นเป็นที่คั่นหนังสือที่มีตัวแปะขึ้นมา เพราะความรำคาญที่ที่คั่นหนังสือชอบเลื่อนหล่นไปจากหน้าเพลงสรรเสริญพระเจ้าที่เขาไปร้องในโบสถ์ แต่เมื่อนำวัสดุของสเปนเซอร์มาใช้ ที่คั่นหนังสือก็ไม่เลื่อนหล่นหายอีก ที่สุดแล้วในปี 1980 โพสต์อิตเปิดตัวในตลาดครั้งแรก
มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ (Potato Chips)
ใน ปี 1853
George Crum พ่อครัวที่นิวยอร์กได้คิดค้นมันฝั่งทอดกรอบ หรือ Potato chips ขึ้นมาจากการพยายามสั่งสอนลูกค้าที่ส่งคืนเฟรนช์ฟรายด์ของเขา เพราะว่ามันชุ่มน้ำมันเกินไป เขาโกรธมากจึงหั่นมันฝรั่งให้บางที่สุดเท่าที่ทำได้ ลงไปทอดให้กรอบ คลุกเกลือ และส่งคืนให้ลูกค้า แต่ปรากฏว่าลูกค้ากลับชอบมันมาก และนำมาสู่การกำเนิดของเจ้า Potato chips หรือ มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบนั่นเอง
กระจกนิรภัย (Safety glass)
หลังจากที่
Édouard Bénédictus นักเคมีชาวฝรั่งเศสเผลอทำขวดแก้วในห้องทดลองลงพื้น ซึ่งแทนที่มันจะแตกเป็นเสี่ยง ๆ มันแค่ร้าว เขาจึงสนใจและค้นหาเหตุผลจนเขารู้ว่าในนั้นมี ” plastic cellulose nitrate” ที่ทำให้กระจกไม่แตกเป็นเสี่ยง ๆ และทนแรงกระแทกได้
ที่มา:
www.bbc.com
zpore.com
brightside.me
petmaya.com
www.scholarship.in.th
www.kiitdoo.com
www.facebook.com
www.bcmj.org