สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) คือหนึ่งในสาขาทางด้าน
STEM ซึ่งประกอบไปด้วย
Science
Technology
Engineering
Mathematics เป็นสาขาการเรียนและการทำงานที่มีความสำคัญต่อนวัตกรรมใหม่ๆ และสอดคล้องกับแผนงานรวมทั้งบริบทการพัฒนาเศรฐกิจของประเทศไทยที่จะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในยุค 4.0
และบทความนี้เรามี
สาขาทางด้านวิศวกรรมที่โดดเด่นรับอนาคตไทยแลนด์ 4.0 มาแนะนำให้น้องๆ ได้รู้จักเพื่อวางแผนการเรียนและอนาคตการทำงานให้สอดคล้องกับตลาดงาน จะมีสาขาไหนบ้าง ตามมาดูกัน
1 วิศวกรปิโตรเลียม (Petroeum engineering)
สิ่งที่จะได้เรียนในสาขาวิชานี้ เช่น ธรณีวิทยาของแหล่งปิโตรเลียม วิธีการเจาะ คำนวณการไหลของปิโตรเลียมในท่อผลิตและท่อส่ง รวมถึงลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของปิโตรเลียม เรียกง่าย ๆ ว่าเรียนตั้งแต่วิธีการนำทรัพยากรปิโตรเลียมขึ้นมาจากใต้ดิน ไปจนถึงกระบวนการผลิตและนำไปใช้ โดยสารมารถเลือกทำงานได้ทั้งที่โรงกลั่น หรือแม้แต่ที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน
ค่าตอบแทนเริ่มต้น : 25,000 - 35,000 บาท ถ้ามีการออกภาคสนามจะได้ค่าตอบแทนพิเศษ
2 วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software engineering)
ใช้ความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นหลัก และมีบางวิชาดึงมาจากวิศวกรรมไฟฟ้า เรียนเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งกระบวนการตั้งแต่การวิเคราะห์ออกแบบ ไปจนถึงขั้นตอนของการทดสอบ โดยรวมเทคนิควิธีการที่หลากหลายเข้าไปในการผลิตซอฟต์แวร์ใหม่ขึ้นมา โดยทำงานด้านวิจัย ออกแบบ พัฒนา และปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ให้ทันมัย และตอบโจทย์การใช้งานในด้านต่าง ๆ
ค่าตอบแทนเริ่มต้น : 20,000 - 40,000 บาท
3 วิศวกรระบบราง (Railway systems engineering)
สาขาวิศวกรรมระบบรางต้องมีความรู้ในด้านกลศาสตร์วิศวกรรมเป็นหลัก เรียนเกี่ยวกับการออกแบบ ก่อสร้าง ซ่อมบำรุง และเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านรถไฟทั้งหมด รวมถึงด้านโลจิสติกส์ และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เมื่อจบสามารถทำงานได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลกำลังผลักดันระบบคมนาคมขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าในเมือง หรือรถไฟฟ้าความเร็วสูง
ค่าตอบแทนเริ่มต้น : 18,000 - 25,000 บาท
4 วิศวกรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and automation engineering)
หลักสูตรที่บูรณาการความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องกล และคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เรียนในรูปแบบที่จะต้องเชื่อมโยงความรู้แขนงต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยการเรียนจะเริ่มตั้งแต่พื้นฐาน และได้เรียนระบบการสร้าง การเขียนโปรแกรม และกระบวนการคิด ความคิดสร้างสรรค์ สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีตำแหน่งที่น่าสนใจ เช่น นักวิเคราะห์และออกแบบหุ่นยนต์, นักพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบหุ่นยนต์ หรือวิศวกรหุ่นยนต์
ค่าตอบแทนเริ่มต้น : 30,000 - 45,000 บาท
5 วิศวกรโทรคมนาคม/วิศวกรระบบดาวเทียม (Telecommunications engineering)
เรียนทุกอย่างที่เกี่ยวกับการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น สัญญาณ การส่ง การรับข้อมูล การวิเคราะห์สัญญาณต่าง ๆ โดยสามารถความรู้ไปพัฒนาระบบโทรคมนาคมต่างๆ เช่น คลื่นโทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้เรียนการเขียนโปรแกรมพื้นฐานต่าง ๆ และวงจรอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย ลักษณะงานที่ทำเกี่ยวข้องกับการควบคุมการสื่อสาร งานติดตั้งและซ่อมบำรุงระบบ เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในหน่วยงานบริการโทรคมนาคม
ค่าตอบแทนเริ่มต้น : 18,000 - 20,000 บาท
6 วิศวกรชีวการแพทย์ (Biomedical engineering)
นำเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ เช่น ความรู้กลศาสตร์ของไหล ความรู้ทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อออกแบบ สร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานโดยเฉพาะ เช่น การทำหัวใจเทียม หรือหลอดเลือดเทียม เป็นต้น เมื่อเรียนจบก็สามารถที่จะเลือกทำงานได้ทั้งในโรงพยาบาลโดยเป็นผู้ที่คอยดูแลเครื่องมือทางการแพทย์ หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์
ค่าตอบแทนเริ่มต้น : 20,000 - 35,000 บาท
7 วิศวกรการบิน/วิศวกรเครื่องกล/อากาศยาน (Aerospace engineering)
เรียนเกี่ยวกับการออกแบบ และวิเคราะห์โครงสร้างรูปร่างทางพลศาสตร์ เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการบินทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระบบขับเคลื่อน วัสดุและวิธีการผลิต การวางแผนและควบคุมการสร้างเครื่องบิน รวมไปถึงการทดสอบหรือการซ่อมบำรุงด้วย หากเป็นงานที่ตรงสายส่วนใหญ่งานของวิศวกรการบินจะเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงอากาศยานเป็นหลัก หรือผลิตเครื่องบินเล็กเพื่อใช้ในงานสื่อสาร หรือสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
ค่าตอบแทนเริ่มต้น : 17,000 - 20,000 บาท
8 วิศวกรเสียง (Sound engineering)
ประยุกต์ความรู้วิศวกรรมหลาย ๆ ด้าน เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ สื่อสาร และไอที เข้ากับดนตรี รวมถึงกราฟิกและแอนนิเมชั่น ที่สำคัญยังมีการให้ลองฟังเสียงต่าง ๆ อีกด้วย สำหรับอาชีพทางสายนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องเกี่ยวกับเสียงแน่ ๆ ซึ่งก็มีทั้งทางที่ตรงสายอย่าง Sound engineer หรือ Light and sound control ในสถาประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมดนตรี เช่น คอนเสิร์ต ไปจนถึงระดับโรงละคร
ค่าตอบแทนเริ่มต้น : 18,000 - 35,000 บาท
9 วิศวกรไฟฟ้า (Electrical engineering)
วิศวกรรมไฟฟ้าเป็นการเรียนเกี่ยวกับการผลิต ประยุกต์ใช้พลังงานไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อุปกรณ์ทางไฟฟ้า เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยจะเรียนเกี่ยวกับการออกแบบและวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า วงจรไฟฟ้า และการรับส่งข้อมูลในรูปสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อาชีพที่คนจบวิศวกรรมไฟฟ้าสามารถทำงานได้ เริ่มตั้งแต่วิศวกร ซึ่งมีสถานที่ทำงานหลากลายทั้งในโรงงาน โรงไฟฟ้า บริษัทต่าง ๆ เพราะทุกที่ที่มีการใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต้องการวิศวกรไฟฟ้าควบคุมดูแล
ค่าตอบแทนเริ่มต้น : 25,000 - 35,000 บาท
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ทั้ง 9 สาขาที่เรายกมาแนะนำน้องๆ ในบทความนี้ ล้วนเป็นสายงานวิศวกรรมที่รายได้ดี อนาคตรุ่ง และเป็นที่ต้องการในตลาดงานอย่างต่อเนื่อง หากสนใจ ก็อย่าลืมเตรียมตัวศึกษาข้อมูลเรียนต่อกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆได้เลยน้าาา
ที่มา:
www.hotcourses.in.th
www.jobnorththailand.com
www.prachachat.net
www.jobthai.com
www.trueplookpanya.com
campus-star.com
telecom.kmitl.ac.th
www.siuk-thailand.com
soundingengineer.blogsport.com
ku.ca.th
www.u-review.in.th