วิศวกรรมศาสตร์ คือศาสตร์ความรู้ที่อยู่คู่สังคมโลกมานาน เป็นสาขาแห่งการสร้าง เป็นความรู้และวิชาชีพที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อการออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง เครื่องจักร เครื่องมือ กระบวนการผลิต หรืองานเพื่อการใช้ประโยชน์
สำหรับน้องๆ คนไหนที่สนใจเรียนและทำงานทางด้านนี้ บทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักสาขาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์กันให้มากขึ้น ซึ่งสาขาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ มีขอบเขตค่อนข้างกว้าง สามารถแตกแยกย่อยออกมาได้หลายสาขา ทั้งการเรียนในต่างประเทศและในประเทศไทย โดยศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมสามารถแบ่งเป็นสาขาหลักๆ ได้ดังนี้
1 วิศวกรรมเครื่องกล (MECHANICAL ENGINEERING)
หนึ่งในสาขาหลักของวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศและเป็นที่ต้องการ โดยศึกษาการออกแบบและควบคุมใช้งานระบบทางกลไกของ เครื่องจักรอุปกรณ์ ยานยนต์ ระบบทางพลังงาน ออกแบบระบบเชิงกายภาพหรือกลศาสตร์ เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ระบบกันกระเทือน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานในภาคธุกิจ อาคารบ้านพักอาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม
2 วิศวกรรมไฟฟ้า (ELECTRICAL ENGINEERING)
สาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฏีและการประยุกต์ใช้ ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่กว้างประกอบไปด้วยหลายสาขาย่อย
3 วิศวกรรมโยธา (CIVIL ENGINEERING)
ออกแบบ วิเคราะห์โครงสร้าง ควบคุมการก่อสร้าง ตรวจสอบคุณภาพ พัฒนาวัสดุก่อสร้าง วิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และสำรวจพื้นที่ต่างๆ เช่น รางรถไฟ ถนนหนทาง สะพาน ตึกและอาคารบ้านเรือน
4 วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน (AEROSPACE ENGINEERING)
เป็นสาขาวิศวกรรมเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการวิจัย ออกแบบ พัฒนา สร้างและทดสอบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ อากาศยาน และ อวกาศยาน
5 วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (COMPUTER ENGINEERING)
ศึกษาทางด้านระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเช่น Network การออกแบบระบบฝังตัวสมองกล มัลติมีเดีย การเขียนโปรแกรมแบบขนานและกระจาย รวมทั้งการออกแบบเครือข่าย วิเคราะห์สัญญาณ
6 วิศวกรรมเหมืองแร่ (MINING ENGINEERING)
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ ธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ และ วิศวกรรมโยธา การควบคุมการทำเหมืองแร่ การผลิตสินแร่ วัสดุศาสตร์ เทคโนโลยีปิโตรเลี่ยมและก๊าซธรรมชาติ
7 วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (ENVIRONMENTAL ENGINEERING)
ศึกษาด้านการออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรมเคมี รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้านเคมี โดยจะต้องศึกษาทั้งด้านวิศวกรรมเครื่องกล และวิทยาศาสตร์เคมี มาประยุกต์ด้วยกัน
8 วิศวกรรมอุตสาหการ (INDUSTRIAL ENGINEERING)
ศึกษาด้านการจัดการ การออกแบบ และการควบคุมเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิตสมัยใหม่ ช่วยให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด การเพิ่มผลผลิตสูงสุด เพิ่มกำไรและประสิทธิการในการทำงาน โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมด้านต่างๆมาบริหารโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
9 วิศวกรรมเคมี (CHEMICAL ENGINEERING)
วิศวกรรมเคมี ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและควบคุมการทำงานของกระบวนการทางเคมี รวมถึงหลักการของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนส่วนผสม สถานะ และลักษณะสมบัติของวัตถุดิบที่กลายไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ตามความต้องการอย่างปลอดภัย ประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และด้วยความก้าวหน้าและพัฒนาการของเทคโนโลยี ทำให้ปัจจุบันเกิดสาขาทางด้านวิศวกรรมใหม่ๆ และมีความสำคัญมากขึ้น เช่น
วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมแม็คคาทรอนิกส์ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต วิศวกรรมนาโนเทคโนโลยี วิศวกรรมการควบคุมอัตโนมัติ วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร วิศวกรรมซอฟแวร์และความรู้ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ วิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ วิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ วิศวกรรมต่อเรือ เป็นต้น
ซึ่งสาขาใหม่นั้นก็เกิดจากการผสมผสานความรู้ของสาขาเดิมเข้าด้วยกัน การเกิดขึ้นใหม่ของสาขาทางวิศวกรรมนั้น โดยทั่วไปแล้วจะถูกนิยามแบบชั่วคราวในหลากหลายรูปแบบ หรือนิยามในฐานสาขาย่อยของสาขาที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งชื่อเรียกก็อาจจะแตกต่างกันไปตามนิยามของแต่ละสถาบัน
และพูดถึงอาชีพวิศวกร ถึงแม้ว่าการเรียนวิศวกรรมศาสตร์จะฝึกฝห้เป็นวิศวกรในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่หลังจากผ่านประสบการณ์การทำงานในสายวิศวกรรมมาแล้ว วิศวกรในแต่ละศาสตร์แต่ละคน อาจจะมีความสามารถในการทำงานสายอื่นได้หลากหลายสาขา
ที่มา
admission.eng.ku.ac.th/majors
www.admissionpremium.com
www.siuk-thailand.com