สอบเข้ามหาวิทยาลัย

หลักสูตรใหม่พร้อมแล้ว! 11 สาขาเปิดใหม่ TCAS68 และกำลังจะเปิดใหม่ ในปี 2568 มหาลัยไหนเปิดบ้าง

   หลักสูตรใหม่พร้อมแล้ว! 11 สาขาเปิดใหม่ TCAS68 และกำลังจะเปิดใหม่ ในปี 2568 มหาลัยไหนเปิดบ้าง

    ข่าวดีสำหรับ DEK68 ที่กำลังมองหาหลักสูตรใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์อนาคต! ปี 2568 นี้ หลายมหาวิทยาลัยเปิด 11 สาขาหลักสูตรใหม่ที่น่าสนใจ เรารวบรวมมาให้แล้วว่ามีมหาวิทยาลัยไหนเปิดสาขาใหม่บ้าง ใครอยากเรียนในสาขาล้ำสมัยและทันสมัยที่สุด ต้องรีบมาอัปเดตข้อมูลกัน
 

  • คณะอักษรศาสตร์ หลักสูตรเอกวรรณกรรมโลกและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จุฬาฯ
   เรียนเกี่ยวกับอะไร ?
    หลักสูตรวรรณกรรมโลกและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เป็นการผสมผสานระหว่างการศึกษา "วรรณกรรมโลก" กับการฝึกฝนทักษะการเขียนที่สร้างสรรค์และเป็นเอกลักษณ์ นักศึกษาจะได้สัมผัสกับวรรณกรรมจากหลากหลายภาษาและวัฒนธรรมทั่วโลก ผ่านการอ่าน การวิเคราะห์ และการวิจารณ์เชิงลึก ทำให้เข้าใจถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเรื่องราวที่สะท้อนผ่านงานเขียนต่างๆ จากความเข้าใจที่ได้จากการศึกษาวรรณกรรม นักศึกษาจะได้นำเทคนิคเหล่านั้นมาพัฒนางานเขียนของตนเอง โดยได้รับการแนะนำวิธีการเขียนอย่างสร้างสรรค์และโดดเด่น ส่งผลให้งานเขียนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สามารถสร้างผลงานที่สื่อสารกับผู้อ่านได้อย่างมีพลัง ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงกับผู้อ่านจากหลากหลายภูมิหลังทางวัฒนธรรมได้อย่างลงตัวและเข้าใจง่าย หลักสูตรนี้จึงไม่เพียงแต่พัฒนาความรู้ความเข้าใจในวรรณกรรมโลก แต่ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ผลิตงานเขียนที่สามารถสะท้อนความคิดและความรู้สึกออกมาได้อย่างสร้างสรรค์ พร้อมทั้งเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์สื่อสารกับผู้อ่านในระดับสากลอีกด้วย

   แผนการเรียน
  • ปี 2: เทอม 1 เรียนวิชาวรรณกรรมโลก เทอม 2 เรียนพื้นฐานการเขียนเชิงสร้างสรรค์
  • ปี 3: เน้นวิชาการเขียนเชิงสร้างสรรค์
  • ปี 4: เรียนวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบและทำโครงงานการเขียนเชิงสร้างสรรค์
  • ตัวอย่างวิชาเลือก เช่น วรรณคดีกับสิ่งแวดล้อม วรรณกรรมเยาวชน การเขียนบทละคร และการเขียนบันเทิงคดี
   โอกาสการเรียน
  • ทำวารสารวรรณกรรมเผยแพร่สู่ผู้อ่าน
  • ร่วมมือกับสำนักพิมพ์
  • เสนอผลงานกับค่ายหนัง เช่น Netflix
  • พัฒนาผลงานสู่ระดับชาติและนานาชาติ
   สำหรับผู้ที่สนใจหลักสูตรนี้ ควรติดตามข้อกำหนดการสมัครเข้าศึกษาในสาขาวิชากับทางคณะอย่างละเอียดอีกครั้ง ส่วนการสมัครสามารถเลือกยื่นเข้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ แบบไม่ระบุสาขา ผ่านระบบ TCAS
   สาขาวิชา : คลิกที่นี่ 
   หลักสูตร : คลิกที่นี่ 
 

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ เซมิคอนดักเตอร์ จุฬาฯ
   เรียนเกี่ยวกับอะไร ?
    วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ จุฬาฯ มุ่งเน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น AI ชิปสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์โฟโตนิก นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต ไปจนถึงการใช้งานในสาขาต่างๆ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งปัจจุบันวิศวกรด้านเซมิคอนดักเตอร์กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้น เพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์เทคโนโลยีที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว

   หลักสูตรที่เปิดสอน:
  • Automotive Design and Manufacturing Engineering (ADME)
  • Aerospace Engineering (AERO)
  • Information and Communication Engineering (ICE)
  • Nano-Engineering (NANO)
  • Robotics and Artificial Intelligence Engineering (Robotics AI)
  • ใหม่: Semiconductor Engineering (SEMI)
   หลักสูตร:
  • ระยะเวลา 4 ปี 131 หน่วยกิต
  • เรียนรู้พื้นฐานฟิสิกส์เซมิคอนดักเตอร์และการออกแบบวงจร รวมถึงการเลือกเรียนเชิงลึกตามความสนใจ
  • ตัวอย่างวิชาเรียน: เช่น Computer Programming, Semiconductor Technology, Digital Systems, Industrial Training, Capstone
   เกณฑ์การสมัคร:
  • กำลังเรียน ม.6 หรือเทียบเท่า
  • คะแนนภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL 80, IELTS 6.0
  • คะแนนคณิตศาสตร์ เช่น SAT (Math) 620
  • คะแนนวิทยาศาสตร์ เช่น CU-ATS (Physics) 400
  • สัดส่วนการคัดเลือก:
    • GPAX: 7.5%
    • คะแนนภาษาอังกฤษ: 20%
    • คะแนนคณิตศาสตร์: 32.5%
    • คะแนนวิทยาศาสตร์: 40%
   โอกาสทำงาน
  • วิศวกรเซมิคอนดักเตอร์ – ทำงานในกระบวนการผลิตและควบคุมคุณภาพเซมิคอนดักเตอร์ รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในสายการผลิต
  • นักออกแบบวงจรรวม (IC Design Engineer) – รับผิดชอบการออกแบบชิปและวงจรรวมที่นำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เชื่อมต่อ
  • วิศวกรการทดสอบ (Test Engineer) – ทำงานในการทดสอบประสิทธิภาพและความถูกต้องของชิปเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถทำงานได้ตามมาตรฐานก่อนออกสู่ตลาด
  • นักวิจัยและพัฒนา (R&D Engineer) – พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการผลิตชิปและวงจรรวม และทำการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเซมิคอนดักเตอร์
  • วิศวกรประกันคุณภาพ (Quality Assurance Engineer) – รับผิดชอบการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ให้ได้มาตรฐานสูงสุด
   หลักสูตร : คลิกที่นี่ 

  • คณะพยาบาลศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
   จุดเด่นของหลักสูตร เรียนอะไร
    หลักสูตรนี้มุ่งเน้นสร้างบัณฑิตที่พร้อมทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย เข้าใจระบบการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน และสามารถทำงานร่วมกับบุคลากรสาขาสุขภาพอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   รายละเอียดหลักสูตร
  • ชื่อหลักสูตรภาษาไทย: หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
  • ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ: Bachelor of Nursing Science Program
  • ระยะเวลาเรียน: 4 ปี ปีละ 2 ภาคการศึกษา
  • จำนวนรับต่อปี: 70 คน
   โครงการที่เปิดรับใน TCAS68
  • TCAS รอบที่ 1: รับ 40 ที่นั่ง จาก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการช้างเผือก และโครงการเรียนล่วงหน้า
  • TCAS รอบที่ 2: รับ 20 ที่นั่ง จาก 3 โครงการ ได้แก่ โควตารับนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โควตาเมล็ดพันธุ์ศาสตร์แห่งแผ่นดิน, และโครงการส่งเสริมโอกาสศึกษาต่อในคณะพยาบาลศาสตร์
  • TCAS รอบที่ 3 (Admission): รับ 10 ที่นั่ง
   หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ พร้อมเปิดรับนักศึกษาที่ต้องการเติบโตในสายงานการพยาบาลที่มีความรู้และทักษะที่ทันสมัย สามารถทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมได้อย่างยั่งยืน
   ประกาศเพิ่มเติมที่นี่ : คลิกที่นี่ 


  • วิศวะการแพทย์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
   เรียนเกี่ยวกับอะไร
  • รวมความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วางแผน วิเคราะห์ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • ครอบคลุมการออกแบบ ทดสอบ ติดตั้ง ตรวจประเมิน และซ่อมบำรุงเครื่องมือทางการแพทย์
  • พัฒนาทักษะฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์การแพทย์
   อาชีพหลังจบการศึกษา
  • วิศวกรชีวการแพทย์
  • นักวิจัยด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • เจ้าของกิจการผลิตหรือออกแบบผลิตภัณฑ์ทางวิศวกรรมชีวการแพทย์
   จำนวนรับนิสิต
  • รอบที่ 1 (Portfolio): โครงการเพชรจุฬาภรณ์ รับ 13 ที่นั่ง (ค่าสมัคร 250 บาท)
  • รอบที่ 2 (Quota): โครงการปณิธานจุฬาภรณ์ รับ 12 ที่นั่ง (ค่าสมัคร 250 บาท)
  • รอบที่ 3 (Admission): โครงการศรัทธาจุฬาภรณ์ รับ 5 ที่นั่ง
   คุณสมบัติผู้สมัคร
  • จบการศึกษาระดับ ม.6 หรือเด็กซิ่วสายวิทย์-คณิต
  • คุณสมบัติเฉพาะแต่ละรอบ
   รอบที่ 1 (โครงการเพชรจุฬาภรณ์):
  • จบ ม.6
  • GPAX 5 เทอม ไม่น้อยกว่า 3.25
  • TGAT รวมทุกวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  • TPAT3 คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
  • Portfolio ไม่เกิน 20 หน้า พร้อมเรียงความ "ความสนใจและความเข้าใจเกี่ยวกับวิศวกรรมชีวการแพทย์"
  • GPA วิชาภาษาอังกฤษ 4 เทอม ไม่น้อยกว่า 3.00 หรือเทียบเท่า
  • หากมีคะแนนภาษาอังกฤษมาตรฐาน จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
   รอบที่ 2 (โครงการปณิธานจุฬาภรณ์):
  • จบ ม.6 หรือเด็กซิ่วจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
  • GPAX 5-6 เทอม ไม่น้อยกว่า 3.25
  • TGAT รวมทุกวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  • TPAT3 คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
  • A-Level วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1, เคมี, ฟิสิกส์, ชีววิทยา และภาษาอังกฤษ รวมทุกรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  • GPA วิชาภาษาอังกฤษ 4 เทอม ไม่น้อยกว่า 3.00 หรือเทียบเท่า
  • หากมีคะแนนภาษาอังกฤษมาตรฐาน จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
   รอบที่ 3 (โครงการศรัทธาจุฬาภรณ์):
  • จบ ม.6 สายวิทย์-คณิต
  • GPAX 6 เทอม ไม่น้อยกว่า 3.25
  • TGAT รวมทุกวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  • TPAT3 รวมทุกวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
  • A-Level วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา และภาษาอังกฤษ รวมทุกรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  • GPA วิชาภาษาอังกฤษ 6 เทอม ไม่น้อยกว่า 3.00 หรือเทียบเท่า
  • หากมีคะแนนภาษาอังกฤษมาตรฐาน จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
ประกาศ : คลิกที่นี่ 

  • เทคโนโลยีอาหารทางการแพทย์และสุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
    เรียนเกี่ยวกับอะไร
  • ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีอาหารและวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วิจัย พัฒนา และควบคุมคุณภาพอาหารทางการแพทย์
   อาชีพหลังจบการศึกษา
  • นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์และสุขภาพ
  • นักวิทยาศาสตร์ในสายงานที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ประกอบการด้านอาหารทางการแพทย์
  • เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
   จำนวนรับนิสิต
  • รอบที่ 1 (Portfolio): โครงการเพชรจุฬาภรณ์ รับ 15 ที่นั่ง (ค่าสมัคร 250 บาท)
  • รอบที่ 2 (Quota): โครงการปณิธานจุฬาภรณ์ รับ 10 ที่นั่ง (ค่าสมัคร 250 บาท)
  • รอบที่ 3 (Admission): โครงการศรัทธาจุฬาภรณ์ รับ 5 ที่นั่ง
 คุณสมบัติผู้สมัคร
  • จบการศึกษาระดับ ม.6 หรือเด็กซิ่วสายวิทย์-คณิต
  • คุณสมบัติเฉพาะแต่ละรอบ
รอบที่ 1 (โครงการเพชรจุฬาภรณ์):
  • จบ ม.6
  • GPAX 5-6 เทอม ไม่น้อยกว่า 3.25
  • TGAT รวมทุกวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  • Portfolio ไม่เกิน 20 หน้า พร้อมเรียงความ "ความสนใจและความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารทางการแพทย์และอาหารสุขภาพ"
  • GPA วิชาภาษาอังกฤษ 4 เทอม ไม่น้อยกว่า 3.00 หรือเทียบเท่า
  • หากมีคะแนนภาษาอังกฤษมาตรฐาน จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
รอบที่ 2 (โครงการปณิธานจุฬาภรณ์):
  • จบ ม.6 หรือเด็กซิ่วจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
  • GPAX 5-6 เทอม ไม่น้อยกว่า 3.25
  • TGAT รวมทุกวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  • A-Level วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1, เคมี, ชีววิทยา และภาษาอังกฤษ แต่ละวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  • GPA วิชาภาษาอังกฤษ 4 เทอม ไม่น้อยกว่า 3.00 หรือเทียบเท่า
  • หากมีคะแนนภาษาอังกฤษมาตรฐาน จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
รอบที่ 3 (โครงการศรัทธาจุฬาภรณ์):
  • จบ ม.6 สายวิทย์-คณิต
  • GPAX 6 เทอม ไม่น้อยกว่า 2.50
  • TGAT รวมทุกวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  • A-Level วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1, เคมี, ชีววิทยา และภาษาอังกฤษ แต่ละวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
ประกาศ : คลิกที่นี่ 

  • เทคนิคการสัตวแพทย์ ม.แม่โจ้
   เรียนเกี่ยวกับอะไร
  • หลักสูตร 4 ปี
  • มุ่งเน้นการชันสูตรโรคและตรวจวินิจฉัยโรคในสัตว์ ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์เศรษฐกิจ
  • พัฒนาทักษะการพยาบาลและดูแลสัตว์เบื้องต้น (Veterinary Nurse)
  อาชีพหลังจบการศึกษา
  • ผู้ปฏิบัติงานห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยโรคทางสัตวแพทย์ (Lab Practitioner)
  • พยาบาลสัตว์ (Veterinary Nurse)
   จำนวนรับ รวม 34 ที่นั่ง
  • รวม 34 ที่นั่ง
  • รอบที่ 1.1 (Portfolio): (การจัดสรรโควตาสำหรับครูแนะแนว) รับ 30 ที่นั่ง
  • รอบที่ 3 (Admission):  รับ 4 ที่นั่ง
    ประกาศ : คลิกที่นี่ 

 
  • เทคนิคการแพทย์ ม.นครพนม
   ปริญญาที่ได้รับ
  • หลักสูตรเทคนิคการแพทยบัณฑิต
   คุณสมบัติผู้สมัคร
  • เรียนจบ ม.6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00
  • GPA กลุ่มสาระคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ แต่ละกลุ่มไม่ต่ำกว่า 3.00
  • Portfolio
  • ประวัติ/ข้อมูลส่วนตัว
  • ผลงานการเข้าร่วมกิจกรรม/แข่งขันทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • หลักฐานการทำกิจกรรมจิตสาธารณะ ภาวะการเป็นผู้นำ ผลงานประดิษฐ์ และอื่นๆ ที่เป็นประจักษ์
  • เรียงความหัวข้อ "ความสำคัญและหน้าที่ของวิชาชีพเทคนิคการแพทย์" ไม่เกิน 1 หน้า A4
  • ใบรับรองแพทย์
   อาชีพหลังจบการศึกษา
  • นักเทคนิคการแพทย์
  • ผู้แทนจำหน่าย
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ
  • นักวิชาการ ผู้ช่วยนักวิจัย
  • ผู้ประกอบการ
  • ผู้ประเมินภาวะสุขภาพและความเสี่ยงด้านสุขภาพ
   จำนวนรับ
  • รอบที่ 1 (Portfolio): รับ 10 ที่นั่ง
   ข่าวสารเพิ่มเติมที่นี่ : คลิกที่นี่ 
 
 
  • สื่อสารดิจิทัลการสร้างสรรค์คอนเทนต์ ม.สวนดุสิต
   เรียนเกี่ยวกับอะไร
  • สร้างคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์
  • การใช้ภาษาในการสร้างคอนเทนต์
  • กำหนดกลยุทธ์และใช้เทคโนโลยีในการสร้างคอนเทนต์ได้อย่างมืออาชีพ
   วิชาเรียน
  • การสื่อสารดิจิทัลและการสร้างสรรค์คอนเทนต์
  • พลวัตสังคมและประเด็นการสื่อสาร
  • จิตวิทยาความเป็นมนุษย์
  • การเล่าเรื่องเพื่อการสื่อสารดิจิทัล
  • ปัญญาประดิษฐ์กับการสร้างสรรค์คอนเทนต์
  • สตรีมมิ่งสร้างสรรค์
  • วล็อกเกอร์และบล็อกเกอร์
  • อิเวนต์เพื่อการสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์
  อาชีพหลังจบการศึกษา
  • นักสื่อสารและสร้างคอนเทนต์
  • นักวิเคราะห์เนื้อหาบนแพลตฟอร์ม
  • นักวางแผนและกลยุทร์เนื้อหา
  • นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์
  • นักการตลาดเนื้อหา
  • นักสร้างคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มดิจิทัล
  • (ยูทูปเปอร์ วล็อกเกอร์ ไลฟ์สตรีมเมอร์
  • ติ๊กต๊อกเกอร์ รีวิวเวอร์ พอดแคสเตอร์)
  • นักสร้างสรรค์คอนเทนต์อิสระ
  • นักเขียนออนไลน์
 จำนวนรับ
  • รวม 90 ที่นั่ง
  • รอบที่ 1 (Portfolio): รับ 20 ที่นั่ง
  • รอบที่ 2 (Quota):  รับ 20 ที่นั่ง
  • รอบที่ 3 (Admission):  รับ 50 ที่นั่ง
   ประกาศ : คลิกที่นี่ 

  • ภาษาเกาหลีและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ม.สวนดุสิต
   ข้อมูลหลักสูตร
  • ม.สวนดุสิต เปิดหลักสูตรใหม่ "ภาษาเกาหลีและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม" เรียนทั้งสองภาษาอย่างเข้มข้น
  • เรียนภาษาอังกฤษและเกาหลีผ่านบริบททางวัฒนธรรมอังกฤษและเกาหลี
  • สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานภาษาเกาหลี จะมีการปรับพื้นฐานให้
  • โอกาสเรียนต่อที่ประเทศเกาหลีภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอูซอง (Woosong University)
   โครงสร้างหลักสูตร
  • ปี 1: เรียนที่ ม.สวนดุสิต
  • ปี 2: เรียนที่ ม.อูซอง หรือเรียนกับอาจารย์เจ้าของภาษาที่ ม.สวนดุสิต
  • ปี 3: เรียนที่ ม.สวนดุสิต
  • ปี 4: เรียนที่ ม.สวนดุสิต
   ตัวอย่างรายวิชาน่าเรียน
   ปี 1 เทอม 1
  • การสื่อสารภาษาอังกฤษสากล (Global English Communication)
  • การสื่อสารภาษาเกาหลี (Korean Connect)
  • การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (Cross-culture Communication)
   ปี 1 เทอม 2
  • วัฒนธรรมอังกฤษร่วมสมัย (Contemporary English Culture)
  • สื่อใหม่เพื่อการสื่อสารในยุคดิจิทัล (New Media for Communication in Digitalization)
  • สัทศาสตร์เพื่อการออกเสียงภาษาอังกฤษ (Phonetics for English Pronunciation)
   ปี 2 เทอม 1
  • วัฒนธรรมเกาหลีร่วมสมัย (Contemporary Korean Culture)
  • ทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษในชีวิตจริง (Real-life Korean Conversation Skills)
  • การสื่อสารตามบริบททางสังคมภาษาเกาหลี (Korean Social Context Communication)
   ปี 2 เทอม 2
  • การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ (English Writing Skills Development)
  • การปราศรัยและการอภิปราย (Speech and Debate)
  • การสนทนาภาษาเกาหลีเชิงวิชาการและมารยาท (Korean Academic Talk and Etiquette)
   ปี 3 เทอม 1
  • การแปลภาษาอังกฤษในยุคดิจิทัล (English Translation in Digitalization)
  • การแปลภาษาเกาหลีในยุคดิจิทัล (Korean Translation in Digitalization)
  • ภาษาเกาหลีธุรกิจ (Business Korean)
  ปี 3 เทอม 2
  • การเตรียมความพร้อมการทดสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษ (English Language Proficiency Test Preparation)
  • การเตรียมความพร้อมการทดสอบวัดความสามารถทางภาษาเกาหลี (Korean Language Proficiency Test Preparation)
  ปี 4 เทอม 1
  • การเล่าเรื่องข้ามสื่อในยุคดิจิทัลด้วยภาษาอังกฤษและเกาหลี (Transmedia Storytelling in Digitalization in English and Korean)
  • สัมมนาและวิจัยภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษและเกาหลี (Seminar and Research on English and Korean Languages and Culture)
  • การพัฒนาบุคลิกภาพและความพร้อมในการทำงาน (Personality Development and Career Readiness)
  ปี 4 เทอม 2
  • ฝึกงาน (Practicum)
  • วิชาเลือก
  • วิชาเลือกในชั้นปี 2 และ 4 เช่น วรรณกรรมและภาพยนตร์, วัฒนธรรมอาหารอังกฤษ, เรื่องเล่าเกาหลี, ละครและภาพยนตร์เกาหลี, วัฒนธรรมอาหารเกาหลี, ภาษาเกาหลีในฐานะภาษาต่างประเทศ
  อาชีพหลังจบการศึกษา
  • นักวิชาการ
  • นักเขียนภาษาอังกฤษและเกาหลี
  • ผู้ผลิตคอนเทนต์ทั้งสองภาษา
  • พนักงานในธุรกิจการบริการหรือธุรกิจระหว่างประเทศ
  • เจ้าหน้าที่ในองค์กรระหว่างประเทศหรือหน่วยงานราชการ
  
   จำนวนรับ
  • รวม 150 ที่นั่ง
  • รอบที่ 1 (Portfolio): รับ 50 ที่นั่ง
  • รอบที่ 2 (Quota):  รับ 50 ที่นั่ง
  • รอบที่ 3 (Admission):  รับ 50 ที่นั่ง
   ประกาศ : คลิกที่นี่ 


   แพทย์ศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ
    บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (THG) ร่วมกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ "St. Luke School of Medicine" เพื่อผลิตบัณฑิตแพทยศาสตร์หลักสูตรนานาชาติ หวังแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์และสมองไหลในระบบสาธารณสุขไทย โดย THG รับผิดชอบการจัดตั้งกองทุนและโรงพยาบาลหลักสำหรับการเรียนการสอน รวมถึงบุคลากรและอุปกรณ์การแพทย์ ส่วนมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญรับผิดชอบด้านการบริหารบุคลากรและระบบสาธารณูปโภค หลักสูตรเน้นการบูรณาการด้านการแพทย์ การบริหารจัดการ และการใช้ AI เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยตั้งเป้าเป็นโรงเรียนแพทย์ทันสมัยในเอเชีย เตรียมเปิดรับนักศึกษาในปี 2568
   รอประกาศเพิ่มเติม
   จากแหล่งข่าว : คลิกที่นี่ 



   พยาบาลศาสตร์ ม.หอการค้าไทย
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุลได้ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โดยมีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล รับหน้าที่เป็นสถาบันพี่เลี้ยงให้แก่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ความร่วมมือในครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการผลิตบัณฑิตพยาบาลที่มีคุณภาพ โดยการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสองสถาบัน ซึ่งคาดว่าจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนานิสิตให้มีทักษะและความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและระบบสาธารณสุข
   รอประกาศเพิ่มเติม
   จากแหล่งข่าว : คลิกที่นี่ 
 
   หลักสูตรใหม่เหล่านี้คือโอกาสสำคัญสำหรับคนที่อยากเรียนในสาขาที่ตรงกับโลกยุคใหม่ DEK68 อย่าลืมสำรวจรายละเอียดของแต่ละมหาวิทยาลัย เตรียมพอร์ตและวางแผนการสมัครให้พร้อม แล้วก้าวสู่เส้นทางการเรียนที่ทันสมัยและเหมาะกับยุคดิจิทัล!