สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เรื่องที่ DEK68 ต้องรู้! เกี่ยวกับ ม.มหิดล TCAS68

    เรื่องที่ DEK68 ต้องรู้! เกี่ยวกับ ม.มหิดล TCAS68 

    น้องๆ DEK68 ที่กำลังมองหาโอกาสในการเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมหิดล ฟังทางนี้เลยค่ะ! เรามีข้อมูลสำคัญและเคล็ดลับที่จะช่วยให้น้องๆ ได้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับขั้นตอนและการเตรียมตัวสำหรับ TCAS68 ที่ม.มหิดล ตั้งแต่ข้อกำหนดพื้นฐานไปจนถึงเคล็ดลับในการทำ Portfolio ที่ปัง! พร้อมแล้วหรือยัง? มาดูรายละเอียดและเริ่มต้นเตรียมตัวกันเถอะ!


 
  • มหิดลมีคณะอะไรบ้าง
    • ม.มหิดล ไม่ได้มีแค่คณะแพทยศาศตร์
    • มหิดลปัจจุบันมี 96 หลักสูตร 
    • มหิดลในปัจุบันมีหลายคณะมาก 22 คณะ 
    • หลักสูตรนานาชาติ 36 หลักสูตร หลักสูตรภาษาไทย 60 หลักสูตร


  • ม.มหิดล ไม่ได้มีแค่สาย วิทย์-คณิต เท่านั้น ! สายศิลป์ก็สามารถมาเรียนได้
    • มีคณะศิลปศาสตร์ ทั้ง เอกไทย อังกฤษ จีนนานาชาติ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทย์กีฬา และยีงมีอีกมากมายเข้าไปดูเพิ่มเติมที่นี่ : คลิกเลย 

  • มหิดลสอบเข้ายากไหม?
    • ก็ต้องบอกว่าการสอบเข้าม.มหิดล สอบเข้ายากจริง แต่ว่าไม่ยากเกินความสามารถน้องๆแน่นอน เพราะแต่ละหลักสูตรกำหนดคะแนนแตกต่างกันไป 
  • รอบที่ 2 quota ม.มหิดล เปิดรับสมัครหลายโครงการ
  • เตรียมตัวก่อนเรียนที่มหาลัยมหิดลของน้องม.6 เป็นแนะแนวต่างๆ “10 เรื่องต้องรู้ เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย”
 
    • วุฒิการศึกษา
      • หลายคณะจะมีการกำหนดวุฒิว่าจะต้องจบม.6 เท่านั้น หลักสูตรไทยหรือหลักสูตรนานาชาติเท่านั้น บางครั้งอาจจะมีการกำหนดว่า GED/กศน./สายอาชีพ สมัครได้หรือไม่ได้ จำนวนหน่วยกิตของวิชาที่คณะต้องการ ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าให้ดี เพราะแต่ละคณะกำหนดไม่เหมือนกัน
    • ผลการเรียน เกรดเฉลี่ย
    • จำนวนเทอม
      • ม.มหิดล รอบที 1 ใช้ 4 เทอม
      • ม.มหิดล รอบที 2 ใช้ 5 เทอม
      • ม.มหิดล รอบที 3 ใช้ 6 เทอม

    • คะแนนสอบ
      • คะแนนสอบที่ ทปอ.กำหนด คะแนนสอบอื่นๆที่แต่ละคณะกำหนด บางคณะอาจจะมีการกำหนดให้สอบเพิ่มเติมมีทั้งแบบบังคับ/ไม่มี หรือมีทั้งจะได้รับการพิจารณาพิเศษ ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าให้ดี
    • ผลงานและรางวัล ในการยื่น portfolio
      • สำหรับสายประกวดแข่งขันหรือคนที่อยากยื่นคะแนน Portfolio ต้องเตรียมตัวให้ดีเพราะบางโครงการต้องเตรียมเก็บตั้งแต่ ม.4-ม.5 (โอลิมปิกวิชาการ) ถ้ามาเก็บม.6ไม่ทันแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าใครจะเก็บผลงานต้องวางแผนให้รอบคอบ

    • โครงงานหรืองานวิจัย
      • ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนา อาจจะไม่ได้มีวิจัยอย่างเดียว อาจจะต้องมีการตีพิมพ์วารสารและต้องมีความเกี่ยวข้องกับคณะที่จะยื่น **ห้ามจ้างหรือทุจริตในงานวิจัยเด็ดขาด** สิ่งเหล่านี้อาจารย์เขาดูออก
    • กิจกรรม
      • บางคณะจะมีแต้มต่อถ้าทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณะนั้นๆ อาจจะเป็นค่าย หรือการประกวดแข่งขัน ถ้าน้องๆคนไหนสามารถเก็บกิจกรรมตรงนี้ได้ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
    • การฝึกงาน
      • ปัจจุบันมีหลายหลักสูตรที่กำหนดการฝึกงาน ฝึกประสบการณ์ทั้งในหรือต่างประเทศ บางหลักสูตรกำหนด 50-80 ชั่วโมง

    • สุขภาพ
      • บางคณะมีการกำหนดเรื่องการตรวจสุขภาพ เช่น BMI ตาบอดสี
    • การเรียนล่วงหน้า
      • บางมหาวิทยาลัยเปิดให้ลงทะเบียนเรียนล่วงหน้า ข้อดีชองการเรียนล่วงหน้าคือสามารถเอาคะแนนมายื่น TCAS รอบ Portfolio ได้ หรือ สามารถเทียบโอนหน่วยกิจทำให้ใช้ระยะเวลาในการเรียนสั้นลงได้ สามารถช่วยให้เรามีโอกาสมากขึ้นทั้งในการยื่นเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย

  • ทำ portfolio ให้ปังด้วยเทคนิค 9S 
    • หลายคนอาจจะคิดว่า Portfolio จะต้องมาเป็นเล่ม เป็นแฟ้ม **มันไม่จำเป็นเสมอไป**
    • รอบ Portfolio นี้ เน้นผู้ที่มีความโดดเด่นของวิชาการความรู้ ความสามารถ กิจกรรม
    • บางคณะใช้แค่ใบเกรด หรือ ใบคะแนน หรือ แค่เกียรติบัตร **ไม่จำเป็นว่าการสมัครเรียนในรอบ Port จะต้องใช้เล่มพอร์ตเสมอไป** ที่จะบอกเราได้ คือ เกณฑ์การรับสมัคร สามารถเข้าไปดูได้ที่ tcas.mahidol.ac.th
    • น้องๆต้องศึกษาเกณฑ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยให้ละเอียด  

  • เทคนิค 9S 
    • S – specific 1 เล่มไม่สามารถส่งได้ทุกมหาวิทยาลัย 
    เราต้องตัดสินใจก่อนว่า 1 เล่มนี้ จะสมัครคณะอะไร หลักสูตร หรือ มหาวิทยาลัยไหน เพราะแต่ละที่มองหาคนที่มีคุณสมบัติต่างกัน ถ้าเอาพอร์ตที่หนึ่ง ไปสมัครอีกที่หนึ่ง เราอาจจะเสียโอกาสในการดึงจุดเด่น ความสามารถของเรามาโชว์ ดังนั้น ถ้าเราตัดสินใจว่าจะสมัครคณะไหน ที่ไหนแล้ว อย่าลืมกลับไปทบทวน portfolio ของเราอีกครั้ง ว่าสามารถนำเสนอตัวตนของเราในมุมที่คณะอยากเห็นได้ดีพอหรือยัง
  • S – strict strict follow the rules
    แปลว่าคณะนั้นมีข้อกำหนดอะไร จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ถ้าเชามีแพลตฟอร์มให้ใช้ เราก็ต้องใช้ตามคณะกำหนด ถ้ากำหนดจำนวนหน้า ก็ให้ยึดจำนวนหน้าตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ม.มหิดล กำหนดจำนวนหน้าไม่เกิน 10 หน้า ไม่รวมปก คำนำ สารบัญ แนะนำให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด อะไรที่เขาไม่ได้ขอก็ไม่ต้องส่ง และในส่วนของการส่งพอร์ต บางคณะเขากำหนดว่าให้ Print เล่มส่ง บางคณะส่งแบบ ออนไลน์ ในส่วนของ
ในส่วนของม.มหิดล
  • รอบที่ 1 จะเป็นการสมัครแบบออนไลน์ ทำไฟล์ PDF แล้วส่งเข้าระบบ
    • S – satisfied พึงพอใจ ถูกใจ ตอบโจทย์
    โจทย์ที่ว่านี้ไม่ใช่โจทย์ของผู้สมัคร แต่เป็นโจทย์ของคณะหรือหลักสํตรที่สมัคร น้องๆเองต้องไปศึกษาหาข้อมูลมาว่าทางคณะมองหาคนแบบไหน คุณสมบัติอย่างไร หรือคนที่จะทำอาชีพในสายงานนี้ ควรจะต้องมีความรู้ความสามารถทักษะเป็นอะไรเป็นพิเศษ เช่น ถ้าจะสมัครคณะศิลปศาสตร์ อาจจะแนะนำตัวเป็นภาษาอะไรบ้าง (ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศ) แต่ถ้าจะสมัครคณะวิศวะ สาขาคอมพิวเตอร์ ภาษาอาจจะต้องเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษา C ดังนั้นจะต้องดูว่าเราจะเลือกนำเสนอคุณสมบัติอะไรให้คณะเห็นแล้วคณะเลือกเรา
  • S – stand out โดดเด่น
อย่าลืมว่าการสมัครรอบ Portfolio มันคือการแข่งขัน เรามีคุณสมบัติผู้สมัครอื่นๆก็มีเช่นเดียวกับเรา ดังนั้นเราก็ต้องกลับไปทบทวนว่า ในบรรดาข้อมูลที่ใส่ลงไปใน Portfolio มีอะไรโดดเด่นบ้าง ถ้าคิดว่ามันยังเด่นไม่พอ ให้เขียนอธิบายว่าทำไมเราถึงภูมิใจกับรางวัลนี้
  • S – strong evidence จุดแข็งของเรา
ถ้าเราคิดว่าเราเก่งภาษาอังกฤษ ควรจะมีคะแนนภาษาอังกฤษมาสนับสนุนเพิ่มความน่าเชื่อถือ ถ้าคิดว่าเรามีจิตอาสาเรามีเกียรติบัตรด้านจิตอาสามาโชวืไหม หลักฐานที่ว่านี้อาจจะเป็นใบคะแนน เป็นเกียรติบัตร เป็นรูปถ่าย จดหมายรับรอง บางคณะจะกำหนดว่าจะใช้คะแนนหรือหลักฐานอะไรบ้าง แต่บางครั้งก็อยู่ที่เราจะออกแบบว่าจะใช้หลักฐานอะไรมาสนับสนุน ให้คุณสมบัติที่เรานำเสนอไปนั้นมันหนักแน่นมากที่สุด
  • S – sensible นำเสนอข้อมูลอย่างมีเหตุผล
นำเสนอข้อมูลอย่ามีตรรกะและสม่ำเสมอ เรียงลำดับตามความสำคัญ ตั้งแต่การประกวดแข่งขันระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับภาค ระดับจังหวัด ลงมาถึงระดับโรงเรียน เรียงตามลำดับเวลา ม.6,ม.5,ม.4 เป็นต้น เรียงตามลำดับหมวดหมู่ เช่น คณะกำหนดขอรางวัล 3 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านจิตอาสา ด้านพัฒนาสังคม การจัดหมวดหมู่และการเรียบเรียงให้ดี จะทำให้กรรมการและคนอ่านสามารถติดตามข้อมูลของเราได้ง่ายและสะดวกขึ้น
  •  S – simple การดีไซน์เล่ม Portfolio
น้องๆบางคนอาจจะคิดว่าออกแบบดีไซน์ต้องให้โดดเด่น รูปเราจะต้องเยอะ แต่ความเป็นจริงแล้ว Portfolio ที่ดี ควรจะเรียบง่าย เน้นการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน  ** กรรมการบางคนใช้วิธีการ print พอร์ตออกมาดู ดังนั้นถ้าตัวหนังสือเล็กมากกรรมการจะไม่สามารถจะซูมเข้าไปอ่านได้**  ทำอย่างไรจะทำให้ Portfolio อ่านในคอมเห็น อ่านในกระดาษก็เห็น การเลือกใช้สี เลือกใช้โลโก้ บางคนไปจำว่าต้องเอาโลโก้มหาวิทยาลัยใส่ลงไปในพอร์ต ไม่จำเป็น สิ่งสำคัญคือ สีที่เราเลือกใช้จะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร
  • S – smart ตรวจทานทุกครั้ง
เมื่อทำ Portfolio เสร็จแล้ว อย่าลืมตรวจทานให้ดีทุกครั้ง โดยเฉพาะตัวสะกดหรือว่าความถูกต้องของข้อมูลทั้งหลาย เพราะพอร์ตนี้คือตัวแทนของเรา บางคณะ บางหลักสูตรอาจารย์จะใช้พอร์ตเล่มนี้ เป็นตัวตัดสินเลยว่าเราจะได้ไปต่อหรือเปล่า ดังนั้นขอ Portfolio เล่มนี้มันควรจะต้องถูกต้อง ชัดเจน และเป็นตัวของเรานำเสนอด้านดีของเราให้ดีที่สุด แล้ว Portfolio ต้องทำเป็นภาษาอะไร ถ้าไม่ได้เป็นนานาชาติแนะนำให้เป็นภาษาไทย เพื่อลดความผิดพลาดของไวย์กรณ์
  •  S – sincere ความจริงใจ
สิ่งที่ใส่ในเล่ม Portfolio นั้น ไม่ว่าผลงานมันจะเด่นมากเด่นน้อย สิ่งสำคัญ คือ ขอให้เป็นข้อมูลความเป็นจริง ถ้าไม่โกหก อาจารย์ดูออก กรณีข้อมูลเป็นเท็จนอกจากจะถูกตัดสิทธิ์การสมัครและตรวจสอบได้ในภายหลังอาจจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมายและถูกตัดสิทธิ์การเป็นนักศึกษา


  • เขียนเอกสารแนะนำตัว Statement of purpose 
  • เทคนิค FLIP
    • F – format รูปแบบเอกสารที่กำหนดเป็นแบบไหน
    ผู้สมัครต้องศึกษาก่อนว่ารูปแบบของเอกสารที่มหาวิทยาลัยกำหนดนั้น เป็นเอกสารรูปแบบไหน เพราะเอกสารแต่ละรูปแบบจะมีองค์ประกอบหรือว่ารายละเอียดไม่เหมือนกัน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรก คือ
  • Personal stagement และ stagement of purpose ซึ่งจะไม่มีหัวข้อกำหนดมาให้แต่จะเป็นการเขียนแสดงตัวตนของผู้สมัครให้เห็นว่ามีความเหมาะสม สอดคล้องกับทิศทางหรือจุดมุ่งหมายการเรียนในหลักสูตรนั้น
  • Essay บทความ เรียงความ โดยจะกำหนดหัวข้อมาให้ผู้สมัครนั้นได้แสดงความรู้หรือทัศนคติต่อเรื่องคณะหรือว่าหลักสูตรกำหนด อาจจะจำเป็นต้องค้นคว้า ค้นหา หรือว่าเรียบเรียงในเชิงวิชาการมากกว่ากลุ่มแรก
  • กลุ่มแรกสิ่งที่ต้องค้นคือความคิดหรือว่าความรู้สึกของตัวเอง format ยังรวมไปถึงจำนวนหน้าตามคณะกำหนด เขียนหรือพิมพ์ font อะไร ขนาดเท่าไหร่ ถ้าไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาให้ให้เอาตามดุลยพินิจของตัวเราอย่างเหมาะสม ให้กรรมการอ่านได้สะดวกและชัดเจน
  • ถ้า format ให้เขียน ต้องเขียนด้วยลายมือเท่านั้น แล้วถ่ายรูปสแกน แปลงไฟล์ pdf แล้วอัปโหลดไฟล์ส่ง
  • L – language ภาษาการเขียน
    • บางคณะจะกำหนดว่าให้เขียนภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ให้เราใช้ภาษานั้นอย่างเคร่งครัด ถ้าเขาไม่กำหนดใช้ภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้
    • **Trick หลักสูตรนานาชาติถ้าการเขียนภาษาอังกฤษของเราไม่ได้มีปัญหามากเกินไปพยายามเขียนให้เป็นภาษาอังกฤษ แล้วนำไปตรวจทาน grammar แต่อย่าจ้าง/ลอก เขียนสะท้อนตัวตนออกมาให้เป็นภาษาเราที่สุด เขียนให้สั้น กระชับ
  • I – information ข้อมูลหลักสูตร
    • Personal stagement ข้อมูลจำเป็นที่จะต้องไปค้นคว้ามาก่อน หลักสูตรสอนอะไร เขาเรียนอะไร จบแล้วทำอะไร ทิศทางเราจะไปทางไหน หาข้อมูลจากเว็บไซต์ของแต่ละคณะหรือไปร่วมกิจกรรม Open house น้องๆคนไหนอยากเข้าม.มหิดล เข้าไปดูที่ we Mahidol
  • P – personal statement อยากเรียนคณะนี้เพราะอะไร
    • ลองมองตัวเองปัจจุบันและอนาคต ว่าจุดหมายปลายทางเหมือนกันไหม ถ้าเหมือนกันเมื่อถึงเวลาเขียนมองย้อนกลับไปอดีต เช่น
      • ประสบการณ์ กิจกรรม การฝึกงาน ความชอบ ความสนใจ วิชาเรียน ความโดดเด่น มีปัจจัยอะไรบ้างสนับสนุนกับคณะที่เรายื่น เอกสารสะท้อนตัวตนของเรามากน้อยแค่ไหน

  • OpenHouse 2024 มหิดล Mahidol Open House 2024 - Empowering the Next Generation
    • วันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 เวลา 08.30 - 17.00 น.
    • มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    • เปิดลงทะเบียน ณ วันที่ 17 กรกฏาคม - 31 สิงหาคม 67
    • ลงทะเบียนที่นี่ https://openhouse.mahidol.ac.th/ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
 
       สรุปข้อมูลจาก : มหาวิทยาลัยมหิดล จากงาน อว.แฟร์ 23 ก.ค. 67