เมนู
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
หน้าแรก
สอบเข้า
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
สำหรับคุณครู
กลับเมนูหลัก
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
กลับเมนูหลัก
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
กลับเมนูหลัก
เรียนต่อต่างประเทศ
เรียนอินเตอร์
เรียนไอที
เรียนการบิน
เรียนบัญชี
เรียนนิเทศฯ
เรียนธุรกิจดิจิทัล
เรียนกีฬา
เรียนเป็นผู้ประกอบการ
เรียนการโรงแรม และการท่องเที่ยว
เรียนภาษาเพื่อธุรกิจ
โลจิสติกส์
เรือสำราญ
ดิจิทัลมีเดีย
สถาปัตยกรรมศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์
กลับเมนูหลัก
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
กลับเมนูหลัก
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ระเบียนนักเรียน
แบบประเมิน SDQ
แบบทดสอบ EQ
แบบทดสอบบุคลิกภาพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
กลับเมนูหลัก
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
กลับเมนูหลัก
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
หน้าแรก
สอบเข้า
หลักสูตรแนะนำ
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
รับตรงที่ไม่อยู่ใน TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
สำหรับคุณครู
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
เทคนิคและสื่อการสอน
คอร์สฟรี
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
สอบเข้ามหาวิทยาลัย
ข่าว TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
โปรแกรมวางแผนอนาคต
โปรแกรมสร้างพอร์ตโฟลิโอ
โปรแกรมแอดมิชชัน
Previous
Next
Previous
Next
คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. โชว์โมเดล “ตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อนสร้างความมั่นใจผู้บริโภค” สู่เกษตรออร์แกนิคด้วยต้นทุนต่ำกว่าเดิม 2 เท่า รับกระแส “คลีนฟู๊ด” มาแรงทั่วโลก
แจ้งลบ
บันทึกเก็บไว้ใน List
วันที่เวลาโพส
03 ก.พ. 60 15:55 น.
03 ก.พ. 60 15:55 น.
อ่านแล้ว
629
จำนวน
แชร์
P'Biw AdmissionPremium
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โชว์โมเดล “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน” กิจกรรมสร้างเครือข่ายเกษตรกรเพื่อการผันตัวของเกษตรกรไทยสู่การเป็นเกษตรอินทรีย์ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิมถึง 2 เท่า ผ่าน 6 ขั้นตอนหลัก คือ
1) ให้ความรู้ด้านโซ่อุปทานใหม่
2) ให้ความรู้ด้านมาตรฐานการผลิต
3) ฝึกอบรมเทคนิคและการใช้อุปกรณ์เชิงปฏิบัติการ
4) จัดกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่
5) จัดกิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน
6) เชื่อมโยงด้านการตลาดกับนักลงทุน
โดยปัจจุบันได้ช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี นครปฐม เชียงใหม่ สุรินทร์ และจังหวัดใกล้เคียงกว่า 200 ครัวเรือน ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพ พร้อมเตรียมขยายพื้นที่ดำเนินการในจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ นครนายก และสระแก้ว เป็นลำดับต่อไป ทั้งนี้ เกษตรอินทรีย์ทำให้เกษตรกรสามารถป้อนวัตถุดิบที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดกับกระแสเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ (Clean Food) และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
ผศ.ดร. ดุสิต อธินุวัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาการจัดการเกษตรอินทรีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. เปิดเผยว่าจากนโยบายการขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ของภาครัฐ ที่มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายตลาดส่งออกให้กับผลผลิตทางการเกษตรให้กว้างยิ่งขึ้น และสามารถตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่หันมาสนใจสุขภาพ ด้วยอาหารออร์แกนิค อาหารคลีน ทำให้เกษตรกรจำนวนมากหันมาให้ความสนใจกับการทำเกษตรอินทรีย์ อย่างไรก็ตามการทำเกษตรอินทรีย์จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบมาตรฐานในทุกขั้นตอนการผลิตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบตรวจรับรองโดยบุคคลที่ 3 (Third-party certification) ที่เหมาะสมกับเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์และการส่งออก และมีค่าใช้จ่ายที่สูง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. โดยสาขาการจัดการเกษตรอินทรีย์ จึงได้ดำเนินการผ่านความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย กรมพัฒนาชุมชน กรมพัฒนาที่ดิน และกรมการค้าภายใน
ผลักดันโมเดลเครือข่ายเกษตรกรแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ด้วยโครงการ “เทคนิคการตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อนในกระบวนการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม” ระบบการประกันคุณภาพสินค้าอินทรีย์และรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วมพีจีเอส (Participatory Guarantee System, PGS) ผ่านการตรวจสอบคุณภาพระหว่างเกษตรกรในพื้นที่เพื่อให้ฟาร์มเพื่อนและตนเองเป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลในทุกขั้นตอน ด้วยค่าต้นทุนที่ต่ำลงถึง 2 เท่า
ผศ.ดร. ดุสิต กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการดังกล่าวได้ดำเนินงานเป็นปีที่ 4 ล่าสุด คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ได้นำองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ไปถ่ายทอดแก่เกษตรกรในพื้นที่ในจังหวัดปทุมธานี นครปฐม เชียงใหม่ สุรินทร์ ลำปาง เพชรบูรณ์ และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม 2559 – กันยายน 2560 ผ่านการเรียนรู้ใน 6 ขั้นตอนหลัก รายละเอียดดังนี้
1) ให้ความรู้ด้านโซ่อุปทานใหม่
การสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ให้หันมาทำเกษตรอินทรีย์ ผ่านการดำเนินกิจกรรมช่วยเกษตรกรวางแผนการผลิต แนะเทคนิคการดูแลพืชผัก ผลไม้ และจัดการหลังการเก็บเกี่ยวให้อยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันสินค้าล้นตลาด รวมถึงหาช่องทางการตลาดใหม่ๆโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
2) ให้ความรู้ด้านมาตรฐานการผลิต
อาทิ งดการใช้สารเคมีทางการเกษตรการเพิ่มอุดมสมบูรณ์ของดินและจัดการฟาร์มด้วยชีววิธี เป็นต้น เพื่อให้ผลผลิตของเกษตกรทั้งที่เป็นพืชผักและสัตว์ ตลอดจนผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด มีคุณภาพ และคงความเป็นเกษตรอินทรีย์ตลอดกระบวนการผลิต
3) ฝึกอบรมเทคนิคและการใช้รายการตรวจสอบ (Checklist)
เชิงปฏิบัติการการให้ความรู้ด้านเทคนิคแก่เกษตรกรในการเป็นผู้ตรวจฟาร์มเกษตรอินทรีย์ การเลือกใช้ชุดตรวจสอบสารปนเปื้อนสำเร็จรูป ในการตรวจวัดสารเคมีที่ปนเปื้อนในดินหรือผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสม
4) จัดกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการเป็นผู้ตรวจรับรองมาตรฐาน
เกษตรอินทรีย์ เพื่อเตรียมความพร้อมเกษตรกรในพื้นที่ให้สามารถตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมได้ตรงตามมาตรฐาน
5) จัดกิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรในพื้นที่ในการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ รวมไปถึงเทคนิคการผลิตผลิตผลเกษตรอินทรีย์ อาทิ การวางแผนการผลิตร่วมกัน การหารือเรื่องช่องทางการจำหน่าย เป็นต้น
6) เชื่อมโยงด้านการตลาดกับนักลงทุน (Trader)
การจำหน่ายสินค้าของเกษตรกรผู้ผลิตผลิตผลเกษตรอินทรีย์ โดยตรงลดปัญหาด้านโลจิสติกส์และพ่อค้าคนกลาง โดยได้ลงนามความร่วมมือกับท็อปส์ มาร์เกต ในการรับซื้อผลผลิตของเกษตรกร
อย่างไรก็ตาม สำหรับผลการดำเนินการใน ปีที่ผ่านมา เป็นผลให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี นครปฐม เชียงใหม่ สุรินทร์ ลำปาง เพชรบูรณ์ และจังหวัดใกล้เคียงกว่า 200 ครัวเรือน พื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์กว่า 4,000 ไร่ ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพสามารถป้อนวัตถุดิบที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลกกับกระแส “เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ” (Clean Food)
เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเมื่อได้รับการรับรอง พีจีเอส จากราคาผลิตผลที่เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มทัพไท ราคาข้าวพีจีเอส สูงกว่าข้าวปกติตันละ 1,000-2,000 บาท ราคาสุกรมีชีวิตสูงกว่า 5-10 บาทต่อกิโลกรัมของน้ำหนักมีชีวิต คิดเป็นมูลค่ารายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย กว่า 20,000 บาทต่อครอบครัวต่อปี
ในขณะเดียวกันทำให้เพิ่มช่องทางตลาด สามารถกระจายผลผลิตสู่ช่องทางการค้าอื่นที่หลากหลาย พีจีเอส ไม่เพียงเป็นกระบวนการรับรองเท่านั้น ยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยด้านเศรษฐกิจ-สังคม ระบบนิเวศของชนบท ยังผลให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตของครอบครัวดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ผศ.ดร. ดุสิต กล่าว ทั้งนี้ มีแผนขยายการจัดกิจกรรมให้ความรู้โมเดลดังกล่าว ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ นครนายก และสระแก้ว ตามลำดับโดยจากผลการดำเนินการที่เกิดผลต่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนฐานราก และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้นควรมีโครงการสนับสนุนที่ให้เกิดการขยายผลร่วมกับหน่วยงานภาครัฐทั้ง ในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติในพื้นที่ รวมทั้งผู้ประกอบการภาคเอกชนส่งเสริมการใช้กระบวนการ พีจีเอส ในการขับเคลื่อนเกษตรกรรายย่อยรวมกลุ่มกันผลิตเกษตรอินทรีย์ เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและแก้ปัญหา ผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ และความยากจนของเกษตรกกรรายย่อยในที่สุด
P'Biw AdmissionPremium
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โชว์โมเดล
เกษตรออร์แกนิค
กระแสคลีนฟู๊ด
คลีนฟู๊ด
จำนวน
แชร์
อ่านแล้ว
629
ตั้งกระทู้ใหม่
แจ้งลบ
คนอื่น ๆ อ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ
ใครก็อยากติด! ม.ธรรมศาสตร์ เผย 10 คณะหรือสาขา รอบ Portfolio ที่คนสมัครเยอะสุด งานนี้ต้องงัดพอร์ตมาสู้!
1K
ตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษาและสยามนิทัศน์ 2567 สุดยิ่งใหญ่ ธีม 'AI กับการเรียนรู้ พร้อมเปิดบ้านค้นหาคณะที่ชอบ หลักสูตรที่ใช่ มหาวิทยาลัยที่โดนใจ ที่ ม.สยาม
4K
เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ !! ม.รามคำแหง รับนักศึกษาใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ส่วนกลาง ร่วมสร้างตน สร้างอนาคต ที่รามคำแหง โอกาสมาถึงแล้ว!
4K
เด็ก 68 เตรียมตัว!! มุ่งสู่ดาว “พระจอมเกล้าลาดกระบัง”
6K
โค้งสุดท้ายจริง! ม.สยาม รับสมัครนักศึกษาใหม่ ปี 2567 ถึง 31 ส.ค. เท่านั้น
6K
ถาม-ตอบ
ติดตามแฟนเพจ
ติดตาม TWITTER
สร้างตน สร้างอนาคต ที่รามคำแหง
ชวนน้อง ม.ปลาย เรียน ป.ตรี ล่วงหน้า Pre-degree รับสมัครวันนี้ - 17 พ.ย. 2567
สถาบันไหน ?? จะครองใจ 2024
ร่วมโหวต!เลย..
TCASPortfolio ต้อนรับปี 2024
ใช้งานฟรี! ไปเลย...
จะดีแค่ไหน! ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าสอบติดไหม?
พร้อมรู้แนวข้อสอบ #TCAS66 ก่อนสอบจริง คลิกเลย!
สาขาแนะนำ ตามคำเรียกร้อง
น่าเรียน มีที่ไหน เน้นอะไร มาดูกัน!!
นับถอยหลัง ม.5 !! สอบติดหมอ ไม่ยาก
ติวเข้มข้น ครบทุกวิชา ที่ใช้ในการสอบติด แพทย์ กสพท
×
Close