“โดนัลด์ ทรัมป์” ว่าที่ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ พยายามเบรกไม่ให้จีนเป็นมหาอำนาจของโลก แต่ดูเหมือนว่าความเป็นผู้นำดิจิทัลของจีนกลับไม่ได้ลดความร้อนแรงลงเลยโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในภูมิภาคนี้เวลาพูดถึงประเทศจีนใครๆก็นึกถึงถึง Alibaba หลังจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกยอมรับเป็นจุดหลักของยุคทองของการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซ แจ๊ค หม่าและทีมของเขาได้เข้ามาฉกฉวยโอกาสนี้อย่างรวดเร็วในเวลาสี่เดือนต่อมาเท่านั้น และได้เข้าซื้อ Lazada ซึ่งเป็นตลาด ecommerce ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ถ้ายึดตามคำบัญญัติของ Jack Ma แล้ว ปี 2560 จะเป็นเหมือนอาหารจานหลักสำหรับตลาด ecommerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเงินรางวัลของตลาด ecommerce ที่จะมีมูลค่าถึง
สองแสนสามหมื่นแปดพันล้านเหรียญสหรัฐ และ Amazon ที่กำลังจะเข้าตลาดสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2560 แน่นอนว่าปีนี้คงจะเป็นปีที่น่าสนใจอีกปีนึง
11กระแสที่จะมีบทบาทในปี 2017
1. Alibaba จะมีบทบาทใน Lazada และจะเข้ามาดูแล Ecomerce ในอาเซียนมากขึ้น
ตั้งแต่ Alibaba ซื้อ lazada มาตั้แต่ปีที่แล้ว ทาง Alibaba ก็ยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทใน lazada มากนัก ซึ่งเตรียมปฏิรูประบบนิเวศน์ ecommerce ในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ทั้งหมดในปี 2560
2. เมื่อโลจิสติกส์กลายเป็นสินค้า ทำให้เครือข่ายของ Alibaba อย่าง Cainiao มาแรง
โลจิสติกส์มักจะถูกมองว่าเป็นตัวขวางการเติบโตอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้อาลีบาบาให้บริการเครือข่ายอย่าง Cainiao ที่เป็นแพลตฟอร์มเปิดที่รวบร้านค้าอีคอมเมิร์ซ Cainiao จะมาแก้โลจิสติกส์ซึ่งเป็นจุดอ่อนของอาลีบาบา
3. Google and Facebook งานเข้า เมื่อเจอ Alimama และ Tmall
เพราะหลังจากที่ตรวดดูยอดการค้าหาสินค้าในเสิร์ซเอนจิ้นและไซต์ของอีคอมเมิร์ซแล้ว ทั้งอาลีบาบาและอเมซอนก็เขย่าวงการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต เอาแค่ในอเมริกา มีคนราว 55% เริ่มหาสินค้าในอเมซอนซึ่งสูงกว่าปี 2558 ที่มีเพียงแค่ 44%
ส่วนในจีน สงครามระหว่างอาลีบาบาและ Baidu ก็ยังดำเนินต่อไป ทำให้อาลีบาบามีแผนที่จะไม่ให้ผู้ใช้งานได้ค้นหาสินค้าในช่องทางของ Baidu และก็ทำสำเร็จในปี 2552และในปี 2560 นอกจากอาลีบาบาดีลกับลาซาด้า และรวมกับแพลตฟอร์มอย่าง Tmall แล้ว อาลีบาบาเตรียมเปิดตัวแพลดฟอร์มโฆษณาอย่าง Alimama ที่คล้ายกับ Google Adword Alimama ยังทำงานร่วมกับเครือข่ายโฆษณาบนหน้าจอและจัดการข้อมูลอย่าง Taobao Affiliate Network ด้วย
4. Alipay: กลยุทธ์ม้าโทรจันในธุรกรรมทางการเงินในอาเซียน
ปี 2560 เป็นปีที่เข้ายุคของ Cash-on-delivery อย่างเต็มรูปแบบแล้ว กว่า 75% ของการค้าขายออนไลน์เกิดจาก Cash-on-delivery เช่นกัน ทำให้เกิดสตาร์ทอัพที่จับกระแสนี้มาได้สักพักแล้ว เช่น Omise, DOKUtelcos และธนาคารอื่นๆที่เริ่มให้บริการคล้ายๆ Paypal แล้วแต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีบัตรเครดิตและเข้าถึงธนาคารทุกคน สมาร์ทโฟนเข้าถึงผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บริการอย่าง the Apple Pay และ LINE Pay ซึ่งอยู่ในแอปฯแชทยอดนิยมอย่าง Line ต้องไม่ลืมความจริงข้อนี้ เพราะการเปลี่ยนสังคมให้สังคมที่ไม่ต้องใช้เงินสดเปลี่ยนนิสัยในการทำธุรกรรมทางการเงินด้วย
เราได้แต่หวังว่าบริษัทที่ให้บริการการชำระเงินนั้นจะทำหน้าที่ได้ดีเหมือนเดิม เพราะอาลีบาบาเริ่มเอา Alipay และ Ant Financial เข้ามาแทรกซึมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นม้าโทรจันผ่านลาซาด้าแล้ว ซึ่งเป็นตลาดที่มีฐานผู้ใช้งานและช่องทางจัดจำหน่ายที่ใหญ่จนสตาร์ทอัพบริการชำระเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องอิจฉาไปตามๆ กัน
5. จาก ecommerce 1.0 สู่ ecommerce 2.0
พื้นที่ของตลาดการค้าขายออนไลน์ เริ่มรวมตัวกัน เกิดจาก Alibaba รวมถึงข่าวลือการเปิดตัวของAmazonในสิงคโปร์ในไตรมาส 1 ปี 2560 ทำให้โอกาสการเติบโตของ “eCommerce 1.0” ต้องจบลง ซึ่งก็หมายถึงร้านค้าประเภทที่เร่ขายสินค้าของผู้อื่นกับมวลชนขนาดใหญ่
ขณะที่เราเคลื่อนตัวเข้าปี 2560 โอกาสการเติบโตของ eCommerce จะเริ่มเปลี่ยนจาก “eCommerce 1.0” เข้าสู่ “eCommerce2.0” ซึ่งบริษัทต่างๆ จะเลิกอาศัยการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน แต่จะเริ่มให้ความสนใจหลายๆ ปัจจัยรวมกัน
6. จะมีผู้รับผลกระทบมากมายจากการปะทะกันของ Alibaba และ Amazon
2559 เป็นปีที่มีการรวมกิจการของหลายธุรกิจมากมายในตลาด ค้าขายออนไลน์ในอาเซียน
- Zaloraประเทศไทยและเวียดนามถูกขายในราคาที่ถูกมากให้กับเครือเซนทรัลกรุ๊ป
- Cdiscount ถูกซื้อโดย TCC Group ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี
- ธุรกิจ ecommerce ที่เล็งกลุ่มลูกค้าผู้หญิงอย่าง Moxy ก็รวมตัวกับ Bilna จากอินโดนิเชียกลายเป็น Orami
- Rakuten จากประเทศญี่ปุ่นถูกปิดตัวในตลาดอินโดนีเชีย มาเลเชีย และสิงคโปร์ รวมถึงได้คืนธุรกิจให้แก่ เจ้าของคนเดิมด้วย
- ร้านขายของชำหรือซุปเปอร์มาเก็ตออนไลน์ในสิงคโปร์อย่าง RedMart ถูกขายในราคาที่ถูกกว่ารายรับให้แก่ Lazada ท่ามกลางกระแสที่หนาหูว่า Amazon กำลังจะบุกเข้าตลาดพร้อมกับ AmazonFresh
7. แบรนด์ใช้การตลาดที่เข้าถึงโดยตรงต่อผู้บริโภค (direct-to-consumer) หรือการเข้าถึงลูกค้าแบบหลายช่องทาง (multi-channel)
หลายๆแบรนด์เข้ามาในตลาดออนไลน์เพราะการติดตั้งร้านออนไลน์ การเข้าถึงที่ง่าย และไม่มีจราจรของเจ้าของเวบอย่าง Lazada MatahariMall และ 11street และนี่คือเหตุผลที่ในปี 2559 หลายๆ แบรนด์ยักษ์อย่าง L’Oreal และ Unilever ต่างก็มีร้านในแพลตฟอร์มเหล่านี้อย่างไรก็ตามบางแบรนด์เริ่มค้นพบแล้วว่าจริงๆ แล้วการค้าขายแบบนี้ข้อเสียมากกว่าข้อดี ตลาดขายของออนไลน์เก็บข้อมูลมากมายที่สามารถบอกได้ว่าสินค้าประเภทไหนและแบรนด์อะไรที่เป็นที่นิยมและขายดี ในช่วงเวลาใด สถานที่ไหน รวมถึงขายให้กับใคร Amazon ได้นำข้อมูลที่มีมูลค่าเหล่านี้มาใช้เพื่อสร้างแบรนด์ที่เป็นของตัวเองเพื่อที่จะแข่งขันกับร้านค้าอื่นๆ
8. การแข่งขันใน ecommerce ที่สูงขึ้นเรื่อยๆจะผลักผู้ประกอบการ และบริษัทเริ่มให้ความสนใจกับธุรกิจประกัน การเงิน และการแพทย์
เพราะการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดค้าปลีก ผู้ประกอบการหันไปให้ความสนใจกับธุรกิจประกัน การเงิน และการแพทย์ บริษัทเกิดใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คล้ายกับอเมริกาและประเทศจีน คือเริ่มให้ความสนใจกับธุรกิจประกัน การเงิน และการแพทย์และสุขภาพมากขึ้น แต่แนวคิดที่แฝงอยู่ก็เหมือนกันคือการใช้อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีในการสร้างพื้นที่สำหรับการซื้อขายสินค้า หรือการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงสำหรับสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่นเงินกู้ ประกันชีวิต หรือแม้แต่ข้อมูลก็ตาม
9. บริษัทหลายแห่งเริ่มให้ความสนใจกับประเทศเมียนมาร์
ธุรกิจต่างๆ เริ่มที่จะสำรวจตลาดใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น เพราะหลายตลาดยักษ์ในภูมิภาคนี้ได้เติบโตมาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว จึงทำให้ประเทศอย่างเมียนมาร์นั้นเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยโอกาสในการเติบโตมากกว่าบริษัท Rocket ซึ่งได้มองการณ์ไกลไว้แล้วและได้ปล่อยเวบไซต์ที่ช่วยจำแนกหางาน เช่น Work.com.mm และเวปไซต์อื่นๆเช่น Ads.com.mm มาตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2555 ในส่วนของกิจการ ecommerce แรกที่ถูกจัดตั้งขึ้นในเมียนมาร์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่าShop.com.mm ได้เริ่มเจาะตลาดช้ากว่าเล็กน้อย ในช่วงปีพ.ศ. 2557 แต่อย่างไรก็ตาม การเติบโตของเวบไซต์นั้นค่อนข้างนิ่งในช่วงระยะเวลาหกเดือนที่ผ่านมา และค่าเฉลี่ยอยู่เพียงแค่ 90,000 Sessions* ต่อเดือนเท่านั้น จึงทำให้สรุปได้ว่าโอกาสการเติบโตของ ecommerce ในประเทศเมียนมาร์นั้นอาจไม่ได้ดีอย่างที่คาดไว้ก่อนหน้า
*Session หรือ เว็บเซสชั่น (Web Session) คือจำนวน user เข้าเว็บไซต์
10. ใครที่ให้บริการแบบ On-Demand ต้องรับมือให้ดี
ด้วยเศรษฐกิจต่อหน่วย (Unit Economics) ที่ไม่ดีขึ้น ระบบที่รั่วไหลและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น ล้วนเป็นอุปสรรค์ที่ทำให้ on-demand startups ต้องเจอปัญหาในปีที่ผ่านมาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ on-demand startups บางรายมีอนาคตที่ไม่ดีนัก ยกตัวอย่างเช่นร้านขายของชำหรือซุปเปอร์มาเก็ตอย่าง Happy Fresh ที่ให้บริการแบบทันที (on-demand service) พึ่งจะปิดตัวออฟฟิศในไทเปและมะนิลาในขณะที่กำลังปลดพนักงานที่ละระลอก นอกเหนือจากนั้นก็ยังเปลี่ยนตัวคนก่อตั้งและ Markus Bihler ซึ่งเป็นCEO เป็นคนอื่นอย่างเงียบๆ ในเมืองไทย Tapsey แอพเรียกผู้ให้บริการสำหรับบ้านเรือนที่เป็น startup ที่ได้เงินลงทุนจาก Inspire Ventures ก็ถูกปิดตัวลงเช่นกันไม่กี่เดือนหลังจากเปิดตัว
“ปัญหาหลักคงไม่ใช่แค่เรื่อง on demand startup แต่มันอาจจะมีเรื่องของตัวผู้บริโภคเข้ามาด้วย ธุรกิจที่ให้ผู้บริโภคจ่ายเงินเพิ่มเพื่อที่จะให้ผู้บริโภคได้สิทธิประโยชน์มากขึ้น มันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ
11. Amazon เข้ามาเล่นในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว
**จงเก็บเพื่อนๆ ไว้ใกล้ตัวและจงเก็บศัตรูไว้ให้ใกล้ยิ่งกว่า (Keep your friends close, but your enemies closer)
ตัวอย่างบุคคลที่ประสบความสำเร็จ Jack ma
หม่าเกิดที่เมืองหางโจว ในมณฑลเจ้อเจียง เป็นหลานชายของนักธุรกิจเจ้าของที่ดินรายใหญ่ในหางโจว และเป็นลูกชายของศิลปินที่ทำการแสดงท้องถิ่นโบราณ ในวัยเด็กหม่าชอบที่จะอ่านหนังสือประเภทนิยายกำลังภายในโดยเฉพาะของกิมย้ง ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้กล้าที่ช่วยเหลือปกป้องชาวบ้านและผู้ที่อ่อนแอกว่าจากอันธพาล เพราะมันทำให้หม่าจินตนาการว่าตัวเองเป็นวีรบุรุษแบบนั้น เนื่องจากเขามักถูกเพื่อน ๆ รังแกและดูถูกเนื่องจากมีรูปร่างที่เล็กกว่าคนอื่น แม้แต่ครอบครัวของเขาเองก็ยังว่าเช่นนั้น หลังการถึงแก่อสัญกรรมของเหมา เจ๋อตุง ประเทศจีนได้เปิดประเทศ มีนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวตะวันตกหลั่งไหลมามากขึ้น โดยเฉพาะที่หางโจว ซึ่งเป็นเมืองที่สวยงาม มีทะเลสาบซีหูที่ขึ้นชื่ออยู่ ณ ที่นี่เองที่หม่าได้ฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษจนเชี่ยวชาญกว่าเพื่อนร่วมรุ่นเขาขี่จักรยานเป็นเวลา 45 นาทีทุกเช้าเพื่อไปยังโรงแรมที่อยู่ใกล้เคียงและพูดคุยกับชาวต่างชาติ โดยจะทำหน้าที่เป็นไกด์พาพวกเขาไปรอบเมืองให้ฟรีเพื่อที่จะฝึกฝนและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเขา ต่อมาในวัยหนุ่ม แม้ว่าเขาจะประสบความล้มเหลวในการสอบเข้าถึงสองครั้ง แต่แล้วเขาก็ได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันครูหางโจว (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อมหาวิทยาลัยฝึกหัดครูหางโจว) และสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1988 ด้วยวุฒิปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์สาขาวิชาภาษาอังกฤษ โดยเมื่อครั้งที่อยู่ในโรงเรียน หม่ายังได้รับเลือกตั้งเป็นประธานนักเรียนด้วยเช่นกัน หลังจากนั้น เขาก็กลายเป็นอาจารย์ผู้สอนในวิชาภาษาอังกฤษและการค้าระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยหางโจวเตี้ยนจื่อ ในการเป็นอาจารย์นั้น หม่าได้ชื่อว่าเป็นอาจารย์ที่ไม่สอนตามตำราหรือระเบียบวิธีการสอนทั่วไป ไม่เคยแม้แต่จะเตรียมตัวการสอนด้วยซ้ำ เขามักใช้วิธีดั้นสด แต่นั่นก็ทำให้เขากลายเป็นขวัญใจของเหล่านักศึกษาอย่างยิ่ง หม่าเป็นอาจารย์อยู่ 5 ปี จึงลาออก เนื่องจากเขาเห็นว่าสมควรได้เวลาที่ตนเองจะทำธุรกิจ