Cloud computing เป็นอีกเทรนด์ไอที ที่ตอนนี้กำลังมาแรงที่สุดซึ่งจะช่วยให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้อินเตอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น หลายคนอาจจะรู้จัก cloud computing กันแล้ว แต่อีกหลายๆคนก็ยังไม่รู้จักคำๆนี้ วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ cloud computing กันว่ามันคืออะไรและมันมีประโยชน์อย่างไรกับเรา
Cloud computing ถ้าหากไปค้นหาความหมายในgoogleก็จะมีการให้ความหมายไว้มากกว่า 50 ความหมายและแต่ละที่ก็ให้ความหมายที่ไม่เหมือนกันเลย แต่โดยในความป็นจริง cloud computing ไม่มีความหมายตายตัวแต่อย่างใด โดยเราจะให้ความหมายของคำว่า Cloud computing คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราใช้งานบนอินเทอร์เน็ตอันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล แพลตฟอร์ม แอพพิเคชั่น อีคอมเมิร์ซ มาร์เก็ตติ้งออนไลน์ และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งเราจะยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจแบบง่าย ๆก็คือ เหมือนเรามีเว็บไซต์อยู่หนึ่งเว็บไซต์ที่คอมพิวเตอร์ Server สามารถที่จะรับคนเข้ามามาดูเว็บไซต์จำนวน 1,000 คนต่อวัน แต่ถ้าวันไหนมีคนเข้ามาดูและใช้บริการมากกว่า 1,000 คน ซึ่งเกินกำลังที่ Server จะรับไหว ถ้าไม่มีการใช้งาน Cloud Computing เว็บไซต์ไหนก็จะล่ม แต่ถ้ามีการใช้บริการ Cloud Computing ก็จะได้คอมพิวเตอร์ Server แบบนี้อีกจำนวนหลายเครื่อง ซึ่งหลักการทำงานหลักๆของ Cloud Computing ก็เหมือนกับแชร์ คอมพิวเตอร์ Server ที่มีอยู่ในกลุ่มเดียวกันให้มาช่วยทำงาน ในกรณีที่มีการโอเวอร์โหลดของ Server หลักนั้นเอง สมมุติว่าได้เครื่อง Server แบบเดียวกันเพิ่มขึ้นมาอีก 5 เครื่องก็จะทำให้จำนวนคนดูเพิ่มขึ้นไปเป็น 5,000 ต่อวันได้เลยทีเดียว
ประเภทของ cloud computing สามารถแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะของโครงสร้างพื้นฐาน ได้ 3 ประเภท คือ
1. Public cloud จะรันและให้บริการบน Cloud’s servers, ระบบเก็บข้อมูล และ networks ที่เป็นของผู้ให้บริการ ซึ่งผู้ใช้บริการต่างๆ จะเข้าไปใช้บริการ Application หรือ Service ที่ต้องการได้ตามที่ผู้ให้บริการได้เปิดให้ใช้บริการ Application หรือ Service นั้น
2. Private cloud จะรันและให้บริการบน servers, ระบบเก็บข้อมูล และ networks ที่เป็นของผู้ใช้บริการเอง หรือเปิดให้ใช้เฉพาะผู้ใช้บริการรายนั้นๆ โดยที่ผู้ใช้บริการเป็นผู้ควบคุมและจัดการระบบเอง ซึ่งผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ติดตั้ง, Setup และ Support เท่านั้น
3. Hybrid cloud จะประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมที่เกิดจากผู้ให้บริการหลาย ๆ แหล่งทั้ง Private cloud และ Public cloud โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปทางระบบเอ็นเตอร์ไพรส์ หรือเน้นทางด้านกิจกรรมต่าง ๆ ดังรูป
รูปแบบการให้บริการของ Cloud Computing แบ่งเป็นอีก 3 ระดับคือ
1. Software as a Service (SaaS) เป็นการที่ใช้หรือเช่าใช้บริการซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่น ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยประมวลผลบนระบบของผู้ให้บริการ ทำให้ไม่ต้องลงทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์เอง ไม่ต้องพะวงเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ เพราะซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานผ่าน Cloud จากที่ไหนก็ได้
ซึ่งบริการ Software as a Service ที่ใกล้ตัวเรามากทื่สุดก็คือ GMail นั่นเอง นอกจากนั้นก็เช่น Google Docs หรือ Google Apps ที่เป็นรูปแบบของการใช้งานซอฟต์แวร์ผ่านเว็บบราวเซอร์ สามารถใช้งานเอกสาร คำนวณ และสร้าง Presentation โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องเลย แถมใช้งานบนเครื่องไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ แชร์งานร่วมกันกับผู้อื่นก็สะดวก ซึ่งการประมวลผลจะทำบน Server ของ Google ทำให้เราไม่ต้องการเครื่องที่มีกำลังประมวลผลสูงหรือพื้นที่เก็บข้อมูลมากๆในการทำงาน Chromebook ราคาประหยัดซักเครื่องก็ทำงานได้แล้ว มหาวิทยาลัยทั้งในไทยและต่างประเทศหลายแห่งในปัจจุบัน ก็ยกเลิกการตั้ง Mail Server สำหรับใช้งาน e-mail ของบุคลากร และนักศึกษาในมหาวิทยลัยกันเองแล้ว แต่หันมาใช้บริการอย่าง Google Apps แทน เป็นการลดต้นทุน, ภาระในการดูแล, และความยุ่งยากไปได้มาก
2. Platform as a Service (PaaS) สำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นนั้น หากเราต้องการพัฒนาเวบแอพพลิเคชั่นที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งรันบนเซิร์ฟเวอร์ หรือ Mobile application ที่มีการประมวลผลทำงานอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ เราก็ต้องตั้งเซิร์ฟเวอร์ เชื่อมต่อระบบเครือข่าย และสร้างสภาพแวดล้อม เพื่อทดสอบและรันซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่น เช่น ติดตั้งระบบฐานข้อมูล, Web server, Runtime, Software Library, Frameworks ต่างๆ เป็นต้น จากนั้นก็อาจยังต้องเขียนโค้ดอีกจำนวนมาก
แต่ถ้าเราใช้บริการ PaaS ผู้ให้บริการจะเตรียมพื้นฐานต่างๆ เหล่านี้ไว้ให้เราต่อยอดได้เลย พื้นฐานทั้ง Hardware, Software, และชุดคำสั่ง ที่ผู้ให้บริการเตรียมไว้ให้เราต่อยอดนี้เรียกว่า Platform ซึ่งก็จะทำให้ลดต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟท์แวร์อย่างมาก ตัวอย่าง เช่น Google App Engine, Microsoft Azure ที่หลายๆบริษัทนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนและเป็นตัวช่วยในการทำงาน
Application ดังๆหลายตัวเช่น Snapchat ก็เลือกเช่าใช้บริการ PaaS อย่าง Google App Engine ทำให้สามารถพัฒนาแอพที่ให้บริการคนจำนวนมหาศาลได้ โดยใช้เวลาพัฒนาไม่นานด้วยทีมงานแค่ไม่กี่คน
3. Infrastructure as a Service (IaaS)เป็นบริการให้ใช้โครงสร้างพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์อย่าง หน่วยประมวลผล ระบบจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย ในรูปแบบระบบเสมือน (Virtualization) ข้อดีคือองค์กรไม่ต้องลงทุนสิ่งเหล่านี้เอง, ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบไอทีขององค์กรในทุกรูปแบบ, สามารถขยายได้ง่าย ขยายได้ทีละนิดตามความเติบโตขององค์กรก็ได้ และที่สำคัญ ลดความยุ่งยากในการดูแล เพราะหน้าที่ในการดูแล จะอยู่ที่ผู้ให้บริการ
ตัวอย่างเช่น บริการ Cloud storage อย่าง DropBox ซึ่งให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลนั่นเอง แต่นอกจากนี้ก็ยังมีบริการให้เช่ากำลังประมวลผล, บริการให้เช่า เซิร์ฟเวอร์เสมือน เพื่อใช้ลงและรันแอพพลิเคชั่นใดๆตามที่เราต้องการไม่ว่าจะเป็น Web Application หรือ Software เฉพาะด้านขององค์กร เป็นต้น
ตัวอย่างบริการอื่นๆในกลุ่มนี้ก็เช่น Google Compute Engine, Amazon Web Services, Microsoft Azure
ประโยชน์ของ Cloud computing
ประโยชน์ของคลาวด์ คอมพิวติ้งมีอยู่หลายประการ เช่น ช่วยให้การนำไอทีไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจทำได้ง่ายและประหยัดขึ้นกว่าในอดีต โดยองค์กรสามารถใช้บริการทางด้านไอทีได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีของตน อีกทั้งผู้ใช้งานก็สามารถเลือกใช้บริการเฉพาะอย่างและเลือกเสียค่าใช้จ่าย ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านหรือสอดคล้องกับงบประมาณของตนได้ ยิ่งไปกว่านั้น คลาวด์ คอมพิวติ้งก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงาน หรือเพิ่มความอุ่นใจในด้านความปลอดภัยของระบบไอที เป็นต้น
หากสรุปเป็นข้อๆ เพื่อให้เห็นประโยชน์ของ Cloud Computing มีดังนี้
1. ประหยัดการลงทุนเรื่องทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เพราะเปลี่ยนมาเป็นการเช่าระบบแทน ซึ่งทำให้บริษัทที่มีเงินลงทุนจำกัดสามารถมีระบบสารสนเทศที่ดีใช้ได้เท่า เทียมกับบริษัทอื่นๆ
2. สามารถสร้างระบบใหม่ขึ้นมาใช้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะว่าผู้ให้บริการจะจัดเตรียมทรัพยากรขนาดใหญ่ไว้รองรับผู้ใช้บริการอยู่ แล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องมีระยะเวลาการ ออกแบบระบบ สั่งซื้อฮาร์แวร์ และติดตั้งฮาร์ดแวร์ ซึ่งแค่นี้ก็ลดระยะเวลาดำเนินการไปเป็นเดือนเลยทีเดียว
3. เพิ่มขนาดทรัพยากรได้ง่ายดายและรวดเร็ว ในกรณีที่ระบบของผู้ใช้บริการมีขนาดใหญ่ขึ้นก็ย่อมต้องขยายทรัพยากรให้เพิ่ม ขึ้นตามการใช้งาน ซึ่งระบบที่เป็นของบริษัทเองคงต้องทำการออกแบบและสั่งซื้อและติดตั้งกัน วุ่นวายเสียเวลา ด้วยการใช้บริการ Cloud computing ก็ทำให้การเพิ่มขนาดทรัพยากรนั้นง่ายและรวดเร็วภายในข้ามคืนเท่านั้น
4. ขจัดปัญหาเรื่องการดูแลระบบทรัพยากรสารสนเทศ ออกไปให้ผู้ให้บริการ Cloud computing ดูแลแทน จึงทำให้ลดทั้งความยุ่งยากของการดูแลและลดจำนวนบุคลากรที่ต้องจ้างมาเพื่อ ดูแลระบบอีกด้วย
เพื่อให้เข้า Cloud computing ใจมากขึ้น
แหล่งที่มา
[1] https://sites.google.com/site/suwandee15510/-cloud-computing/rup-baeb-kar-hi-brikar-khxng-cloud-computing
[2] http://sc2.kku.ac.th/office/sci-it/index.php/29-cloud-computing
[3] http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/cloud-computing/
[4] https://www.it24hrs.com/2015/cloud-computing-and-cloud-definition/
[5] http://thumbsup.in.th/2013/09/5-cloud-providers-performance-analysis/
[6] http://www.manacomputers.com/what-is-cloud-computing/