สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ทึ่งอาจารย์ ม.นเรศวร ค้นพบสารยับยั้งมะเร็งเติบโตจาก’ยางต้นรัก’เตรียมพัฒนาเป็นยาต้าน!

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อาจารย์จากมหาวิทยาลัยนเรศวรและทีมงานประสบความสำเร็จในการวิจัย สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นรัก ซึ่งสามารถต่อยอดพัฒนาใช้ต้านมะเร็ง ต้านไวรัส และต้านการอักเสบในอนาคต โดย ดร.ภญ.สุภาวดี พาหิระ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แถลงเปิดตัวงานวิจัยดังกล่าว
 
UploadImage
 

ซึ่ง ดร.ภญ.สุภาวดี กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยต้นรักในส่วนต่างๆ ได้แก่ ดอก ผล และยาง แล้วทำให้สารสกัดบริสุทธิ์ โดยเฉพาะการสังเคราะห์สารบริสุทธิ์จากยางต้นรัก พบว่าสารดังกล่าวสามารถยับยั้งการทำงานของโปรตีนที่จำเป็นต่อการเติบโตของมะเร็งในภาวะที่ขาดออกซิเจน นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 ที่เฉพาะเจาะจงกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ของมนุษย์ในช่วงเริ่มต้นของการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ที่สำคัญต่อกระบวนการอักเสบ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสได้อีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นผลงานวิจัยครั้งแรกที่ค้นพบในวงการแพทย์ของประเทศไทย

ดร.ภญ.สุภาวดีกล่าวอีกว่า งานวิจัยเหล่านี้เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เปิดเส้นทางใหม่ในการค้นคว้าวิจัยต้นรัก ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีประวัติการใช้ในการแพทย์แผนไทย แผนจีน และอายุรเวชมายาวนาน และผลการวิจัยนี้ ทีมคณะวิจัยได้จดสิทธิบัตรระดับนานาชาติจำนวน 3 ฉบับ และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ 3 ฉบับ นอกจากนี้ยังสามารถนำผลการวิจัยไปต่อยอดหาความร่วมมือกับนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Macau University of Science and Technology ซึ่งมีการลงนามตกลงความร่วมมือด้านงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวรไปเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อศึกษาพัฒนายาที่ใช้ต้านมะเร็ง ต้านไวรัส และต้านการอักเสบในอนาคตซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไป จนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ที่ผ่านมา งานวิจัยดังกล่าวได้รับรางวัล Macao Scientific and Technological R&D for Postgraduates Award 2016 ที่เขตปกครองพิเศษมาเก๊า ประเทศจีน


 
 
UploadImage
 
 
 

โดยผลงานวิจัยนี้จะต้องมีการต่อยอด ทดลองกับสัตว์ โดยเฉพาะหนู แล้วหากไม่มีผลกระทบก็จะทดลองกับคน ซึ่งก็อาจใช้เวลาในการสกัดเป็นตัวยามารักษาให้กับมนุษย์อีกครั้ง นอกจากนี้ ตนยังสามารถแยกสารสกัดจากยางดอกรักได้ตัวสารบริสุทธิ์ในการนำมาผลิตยารักษาโรคต่างๆ ได้ถึง 25 ชนิดด้วยกัน และอนาคตก็จะทดลองพืชที่มียาง โดยเฉพาะต้นตีนเป็ดหรือพญาสัตบัน ต้นเทียนแดง นำมาทดลองสกัดหาสารบริสุทธิ์ในการทำยารักษาโรคต่างๆ ต่อไปได้ แต่ก็จะเกิดปัญหาขาดวัตถุดิบ ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการทดลองต่อไปอีกครั้ง


UploadImage

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : มติชนออนไลน์

คนอื่น ๆ อ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ