หน้าแรก เรียนนิเทศฯ อาชีพในอนาคต

ครีเอทีฟ อาชีพของยอดมนุษย์ผู้อยู่เบื้องหลังงานโฆษณาปังๆ

วันที่เวลาโพส 25 ธันวาคม 60 11:59 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium


"ครีเอทีฟ" หนึ่งในอาชีพที่คนไทยได้รับความยอมรับอาชีพหนึ่งในเวทีโลก ในทุกๆ ปีมีภาพยนตร์โฆษณาสัญชาติไทยได้รับรางวัลในเวทีระดับโลกอยู่เนืองๆ รวมทั้งมีบริษัทโฆษณาไทยที่ประสบความสำเร็จระดับโลก การยอมรับเหล่านี้ก็เป็นเหมือนรางวัลในคนทำงาน “ครีเอทีฟ” ให้สร้างสรรค์ผลงานให้ดีขึ้นไปอีกขั้น วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับอาชีพเบื้องหลังงานโฆษณาที่ถูกเรียนชื่อว่า “ครีเอทีฟ” กัน

โดยคนคิดงานโฆษณา แผนกสร้างสรรค์ หรือแผนกครีเอทีฟ จะมีหน่วยเล็กที่สุดเป็นคู่หรือ 2 คน เป็นคู่หูกัน คนหนึ่งมีความถนัดจัดเจนทางด้านศิลปะ ไม่จำเป็นต้องวาดภาพเก่ง จะเป็นผู้กำหนดภาพที่สวยงามตามจินตนาการขึ้นได้ เราเรียกครีเอทีฟคนนี้ว่า Art Director ส่วนอีกคนจะมาจากสายนักเขียน เขียนหนังสือเก่ง เจ้าบทเจ้ากลอน หรือมีทักษะในการเขียนดี จะเรียกคนนี้ว่า Copywriter เราจะพบเขาเหล่านี้ในบริษัทโฆษณาใหญ่ๆ หรือระดับอินเตอร์ที่มาจับมือกับคนไทยตั้งสาขาในประเทศไทย


 

การทำงานของครีเอทีฟ มีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้

– รับโจทย์จากลูกค้า ตีโจทย์ร่วมกับคนทำงานในบริษัท และทำแผนงานเสนอลูกค้า
– นำเสนองาน เพื่อให้ลูกค้ายอมรับในแนวทางทั้งหมด
– ผลิตงานโฆษณา เช่น ถ่ายทำภาพยนตร์ ถ่ายภาพนิ่งเพื่อทำ ad โฆษณาในหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือในสื่อต่างๆ ที่ได้นำเสนอลูกค้าไว้
– นำผลงานไปใช้ในสื่อต่างๆ ตามแผนงาน หรือตามที่ตกลงไว้กับลูกค้า
 

สิ่งที่ท้าทายที่สุดของการทำงานโฆษณาของหน้าที่ครีเอทีฟ คือการทำงานในตำแหน่ง Creative Director หรือหัวหน้ากลุ่มที่มีครีเอทีฟหลายคู่อยู่ในทีมนั่นเอง การทำงานจะเริ่มจากไปจับเข่าคุยกับลูกค้า หรือการรับโจทย์ (Brief) ไปพร้อมกับฝ่ายบริหารงานลูกค้า หรือเออี (AE : Account Executive) จะมีการพูดคุยตีโจทย์พร้อมกับลูกค้า ให้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมาย เข้าใจตลาดจากมุมมองของลูกค้าในเบื้องต้น แล้วนำไปวิเคราะห์ถึงแนวทางในการที่จะเจาะเข้าตลาดด้วยแนวทางของงานโฆษณาที่ดี แล้วนำมาให้ลูกทีมของตัวเองช่วยกันทำงานตามความถนัด

การทำงานโฆษณามีวิธีการที่ชัดเจนถูกต้องตามหลักการ ไม่ใช่แค่การคิดหนังแปลกแล้วคนจำได้ ต้องเข้าใจตลาด เข้าใจคู่แข่งขัน เราจึงจำเป็นต้องมีอาชีพ “ครีเอทีฟ” ที่คอยพัฒนาผลงานก่อนถ่ายทอดออกมาสู่ผู้ชม สิ่งสำคัญสำหรับครีเอทีฟคือต้องเข้าใจให้มาก และเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา



ตัวอย่างงานภาพยนตร์โฆษณา
 



ขอบคุณข้อมูลจาก : Akkapol.com 

 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด