หน้าแรก เรียนนิเทศฯ ข่าว/บทความ

ขาลงสำหรับวงการสื่อสิ่งพิมพ์ คนทำงานยังสำคัญ แต่ต้องปรับตัว!

วันที่เวลาโพส 18 ธันวาคม 60 13:58 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium

อย่างที่เราเห็นว่าตั้งแต่ปี 2014-1016 ที่ผ่านมา นับเป็นช่วงขาลงสำหรับวงการสื่อสิ่งพิมพ์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะนิตยสารและหนังสือพิมพ์ ที่ประกาศปิดตัวกันมาเรื่อยๆ ทั้งหัวเล็กและหัวใหญ่ ทั้งระดับโลก อย่าง FHM, Zoo, The Independent,The Daily หรือ The New York Time ที่ประกาศตัวปิดหนังสือพิมพ์แล้วหันไปให้บริการออนไลน์แทน

รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ในประเทศไทยอย่าง หนังสือพิมพ์บ้านเมือง, นิตยสารพลอยแกมเพชร, บางกอกรายสัปดาห์, สกุลไทย, เปรียว, ขวัญเรือน, Image,  Volume, Cosmopolitan, Seventeen, ILike, Oops!, OHO, Marie Claire, Men’s Health, Giraffe Magazine, นิตยสารการ์ตูน C-Kids, คู่สร้างคู่สม, ครัว และอีกหลายเล่มที่กำลังจะตามมา


ซึงสาเหตุนั้น เป็นไปตามสภาพของตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยแยกเป็นข้อได้ ดังนี้

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน : สาเหตุหลักที่สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อหลักอื่นๆ ได้รับความนิยมลดลงนั่นคือ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แม้จะไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการว่าโดยเฉลี่ยหายไปกี่เปอร์เซ็นต์ แต่จากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ในวงการหลายๆ แห่ง ก็ค่อนข้างจะแน่นอนว่าคนอ่านหนังสือ โดยเฉพาะนิตยสารลดลง

การเติบโตและความสะดวกของสื่อออนไลน์ : เพราะการเกิดขึ้นของสื่อออนไลน์ที่มีข้อมูลข่าวสารแทบทุกอย่างบนโลก สามารถตอบสนองพฤติกรรมของผู้คนได้รวดเร็ว ฟรี และเข้าถึงสะดวกมากกว่า ทำให้นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ที่ต้องใช้เวลาในการผลิตนาน และมีราคาแพง ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องหการและเกาะกระแสได้ทัน คนจึงหันไปหาสื่อออนไลน์แทน

ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นทุกปี : ต้นทุนในการพิมพ์นิตยสารเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งสวนทางกับรายได้ โดยเฉพาะค่ากระดาษซึ่งเป็นต้นทุนหลักถึง 50% ของต้นทุนทั้งหมด ทำให้หลายค่ายไม่สามารถแบกรับต้นทุนการผลิตสิ่งพิมพ์ได้ไหว 

งบโฆษณาลดลง : ล่าสุดจากผลการสำรวจของบริษัท นีลเส็น ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า เม็ดเงินโฆษณาในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ ลดลง 17% นิตยสาร ลดลง 28% โดยสัดส่วนของโฆษณาในทั้งสองสื่อรวมกันแค่ 12% จากเม็ดเงินโฆษณาทั้งหมด แต่ย้อนหลังกลับไป 10 ปีที่แล้ว สัดส่วนเงินโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์มีสูงถึง 24% (หนังสือพิมพ์ 17% และนิตยสาร 7%) เท่ากับเงินโฆษณาหายไปมากกว่าครึ่ง และนอกจากเม็ดเงินโฆษณาที่หายไป ยอดขายก็ตกฮวบถึง 30% ซึ่งเป็นผลมาจากบรรดาเอเยนซีปรับการใช้เงินไปกับสื่อที่มาแรงอย่าง สื่อออนไลน์ และการเกิดของสื่ออย่าง ทีวีดิจิตอล ที่ทำให้ต้องมีการเกลี่ยเม็ดเงินไปยังช่องทางของสื่อใหม่
 

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญในทุกฝ่าย ยืนยันตรงกันว่า คอนเทนต์ไม่มีวันตาย ผู้บริโภคยังคงต้องการเสพคอนเทนต์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งคนทำงานด้านสื่อยังคงมีเป้าหมายและภารกิจในการทำงานเหมือนเดิม แต่ผู้ผลิตจะต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเว็บไซต์ E-Magazine Free copy หรือแอปพลิเคชัน และแพลตฟอร์มใหม่ต่างๆ 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด