หน้าแรก เรียนนิเทศฯ ข่าว/บทความ

ก่อนมี “โดรน” และ “เครื่องบิน” มนุษย์ถ่ายภาพทางอากาศกันอย่างไร?

วันที่เวลาโพส 17 สิงหาคม 60 15:03 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium

“วิชาการถ่ายภาพ” หนึ่งในวิชาสำคัญที่เด็กนิเทศต้องได้เรียน เป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพ องค์ประกอบภาพ และมุมมองต่างๆ และหนึ่งในมุมมองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน คือมุมที่มองลงมาจากข้างบน ที่เรียกว่า “bird's-eye view” ซึ่งก็น่าจะเป็นภาพที่หลายคนเห็นกันจนชินตา ทั้งจากภาพนิ่ง ภาพยนตร์ หรือแม้แต่คลิปในโซเชียลมีเดีย

แน่ล่ะในเมื่อใครๆ ต่างก็หาซื้อ “โดรน” ได้ในราคาไม่สูงมากนัก แต่น้องๆ รู้กันหรือไม่ว่า การถ่ายภาพแบบนี้อันที่จริงแล้วมีมาก่อนจะมีเครื่องบินด้วยซ้ำ เราจะพาไปย้อนรอยกันว่าการถ่ายภาพ “bird's-eye view” ก่อนมี โดรน เขาทำกันอย่างไร ถ้าใครสงสัย ก็ตามมาอ่านบทความนี้กันได้เลย
 


การถ่ายภาพทางอากาศเกิดขึ้นครั้งแรกเพื่อการสำรวจ และเขียนแผนที่ในปี ค.ศ. 1860 โดยการนำกล้องถ่ายภาพขึ้นไปกับบอลลูนลมร้อน ภาพถ่ายทางอากาศภาพแรกของโลกถ่ายโดย Gaspard Felix Tournachon ชาวฝรั่งเศส
ต่อมาในปี ค.ศ. 1882 นักประดิษฐ์หลายคนพยายามทดลองถ่ายภาพด้วยว่าว โดยที่ว่าวจะถูกผูกติดกันหลายๆ ตัว เพื่อให้มีกำลังพอจะยกกล้องถ่ายภาพลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า ภาพถ่ายจากว่าวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกคือ ภาพความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวของเมืองซานฟรานซิสโก ซึ่งถ่ายโดย George R. Lawrence (1906) 


ในปี ค.ศ. 1897 นักประดิษฐ์ชาวสวีเดน Alfred Nobel ผู้ก่อตั้งรางวัลโนเบล ได้สร้างจรวดติดตั้งกล้องขึ้นมา จรวจจะพากล้องพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ก่อนจะปล่อยกล้องลงมาด้วยร่มชูชีพ จากความสูง 2,600 ฟุต 
ค.ศ. 1903 เริ่มมีการใช้นกพิราบถ่ายภาพ Bavarian Pigeon Corps ของเยอรมัน ผู้ให้บริการนักพิราบสื่อสาร และลาดตระเวน ได้ออกแบบกล้องขนาดเล็ก ติดไว้ที่นกพิราบ และตั้งเวลาถ่ายทุก 30 วินาที ในยุคนั้นภาพถ่ายจากนกพิราบส่วนใหญ่จะถูกใช้ในยุทธวิธีทางการทหาร


ค.ศ. 1909 เป็นครั้งแรกที่เริ่มมีการถ่ายภาพจากเครื่องบิน ภาพแรกถูกถ่ายโดย Wilbur Wright หนึ่งในสองพี่น้องผู้สร้างเครื่องบินลำแรกของโลก และการถ่ายภาพจากเครื่องบินในช่วงนั้นก็เป็นไปเพื่อการนำมาใช้ทางยุทธวิธีทางการทหารในสงครามโลกครั้งที่ 1




ขอบคุณรูปภาพจาก : www.curious-eye.com
                           petapixel.com
                           cabinetmagazine.org
                           servatius.blogspot.com
                           www.nobelprize.org
                           todayinsci.com
                           all-that-is-interesting.com
                           webapp2.wright.edu


 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด