หน้าแรก เรียนสถาปัตย์ คณะ/สาขา

อยากเข้าคณะสถาปัตย์ ต้องเรียนสายอะไร?

วันที่เวลาโพส 30 มีนาคม 61 17:50 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รับแผนการเรียนไหนบ้าง? 

คำถามที่น้องๆ ม.ต้นหลายคน รวมทั้งน้องม.ปลายที่สนใจเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ ยังสงสัยเกี่ยวกับการเข้าคณะนี้ “จะเข้าสถาปัตย์ ม.4 ควรเลือกเรียนสายอะไร? สถาปัตย์ รับเฉพาะสายวิทย์คณิตรึเปล่า? แล้วศิลป์คำนวณ ศิลป์ภาษาเข้าสถาปัตย์ ได้ไหม?”  

บทความนี้เรามีข้อสรุปมาแนะนำให้น้องๆ เข้าใจกันง่ายๆ โดยดูจากหลักเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษารูปแบบล่าสุด ปี 2560 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ "ระบบ TCAS" ซึ่งระบบ TCAS จะแบ่งการรับเข้าเป็นทั้งหมด 5 รอบ  ดังนี้


รอบที่ 1 การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
ไม่มีการสอบข้อเขียน 
เปิดรับผลงานของน้องๆ แผนการเรียน วิทย์-คณิต ศิลป์-คำนวน ศิลป์-ภาษา ขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการและแต่ละสาขาของมหาวิทยาลัยนั้นๆ กำหนด (ศึกษาเกณฑ์การรับของมหาวิทยาลัยแต่ละปีอีกครั้ง)

รอบที่ 2 การรับแบบโควตา
มการสอบปฏิบัติและข้อเขียน รอบนี้ส่วนมากมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์รับเฉพาะ สายวิทย์-คณิต และ ศิลป์-คำนวณ แต่ก็อาจมีบางสาขาบางมหาวิทยาลัยที่เปิดรับสายศิลป์ฯ ภาษา (ศึกษาเกณฑ์การรับของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกครั้ง)

รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน
รอบนี้ส่วนมากก็จะ “รับทุกแผนการเรียน” น้องๆ เตรียมสอบ PAT4 และเตรียมติวเรื่องการออกแบบเพิ่มด้วยจะดีมากเพราะอาจจะได้สอบเพิ่มตามเกณฑ์ของแต่ละมหาวิทยาลัย (
เงื่อนไขอาจเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละปี)

รอบที่ 4 การรับแบบ Admission และ รอบที่ 5 การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก) 
สองรอบนี้เป็นรอบรวมที่ส่วนมากจะ "รับทุกแผนการเรียน" ที่คะแนนนถึงเกณฑ์ (เงื่อนไขอาจเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละปี)


สรุปส่งท้ายไว้นิดหนึ่งว่า ทุกคนทุกแผนการเรียนมีสิทธิ์สอบผ่านเข้าไปเรียนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้ ถ้าคะแนนสอบและคุณสมบัติโดยรวมถึงเกณฑ์ที่สาขาหรือมหาวิทยาลัยนั้นๆ กำหนด แต่บางทีมหาวิทยาลัยอาจมีระบุเพิ่มเติมไว้ในคู่มือการรับว่าต้องเรียนสายวิทย์-คณิต เท่านั้น น้องก็ต้องติดตามดูรายละเอียดเกณฑ์การรับของแต่ละโครงการ แต่ละปีให้ดี

แต่หากน้องๆ ม.ต้นคนไหนต้องการความแน่ใจว่าจะมีคุณสมบัติด้านแผนการเรียน สามารถเข้าคณะสถาปัตย์จริงๆ ก็สามารถเลือกเรียนแผนวิทย์-คณิต หรือศิลป์คำนวณ ไว้ก่อนเพื่อความสบายใจก็ได้ และถ้าอยากให้มั่นใจว่าจะไม่พลาดกำหนดการรับ สามารถกดติดตามที่เว็บนี้ Admission Direct ได้เลย

 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด