หน้าแรก เรียนการบิน อาชีพในอนาคต

อีกหนึ่งอาชีพท้าทายในสนามบิน "Ground Staff หรือ พนักงานภาคพื้นสายการบิน"

วันที่เวลาโพส 08 กุมภาพันธ์ 60 13:29 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium
หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินอาชีพที่เรียกกันว่า “Air Ground หรือ แอร์กราวนด์” ซึ่งที่จริงแล้วคำๆ นี้ ไม่ใช่ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการเท่าไหร่ เรียกว่าเป็นแค่คำติดปากที่เราคุ้นเคยกันเท่านั้น ถ้าจะให้ถูกต้อง เราควรเรียกคนที่ทำงานตำแหน่งนี้ว่า Ground Hostess/ Ground Staff/ Guest Service ซึ่งหมายถึง พนักงานภาคพื้นประจำสนามบิน หรือ พนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน นั่นเอง

และในแต่ละสายการบินก็อาจจะมีชื่อเรียกตำแหน่งนี้ที่หลากหลายแตกต่างกัน เช่น Passeger Service Officer, Customer Service Officer, Check-in staff, Ground Officer, Flight Attendant Ground, Traffic Officer และอื่นๆ 


พนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน จะทำหน้าที่ต้อนรับและดูแลอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารตั้งแต่ผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการของสายการบินจนกระทั่งส่งผู้โดยสารขึ้นเครื่องให้อยู่ในความรับผิดชอบและการบริการของแอร์โฮสเตสค่ะ เมื่อผู้โดยสารเข้ามาถึงสนามบิน อันดับแรกต้องมารับการตรวจรับบัตรโดยสารและสัมภาระ ซึ่งก็คือการเช็คอิน ซึ่งพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินที่อยู่ที่เคาน์เตอร์รับบัตรโดยสารของแต่ละสายการบินจะเป็นคนเช็คอิน

เมื่อเช็คอินเสร็จ เราจะได้รับบอร์ดดิ้งพาสหรือบัตรขึ้นเครื่อง หลังจากนั้น เมื่อผู้โดยสารเข้าไปในเกทหรือห้องพักผู้โดยสารขาออก ก็จะมีกราวด์บอร์ดพาผู้โดยสารไปที่เครื่อง ส่วนเที่ยวบินขาเข้าก็จะมีกราวด์รับเครื่อง ซึ่งมีหน้าที่ต้องตรวจสอบเคสพิเศษต่างๆ ก่อนที่จะไปรับผู้โดยสารที่เครื่อง เมื่อมาถึงอาคารขาเข้า จะต้องดูแลจนผู้โดยสารรับสัมภาระเรียบร้อย หากมีกรณีไม่ได้รับกระเป๋า ต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนกติดตามสัมภาระ หรือ Lost&Found หรือ กับสถานีต้นทางที่ผู้โดยสารเดินทางมา เป็นต้น


แน่นอนว่าอาชีพนี้ก็เป็นอีกสาขาที่น้องๆ ให้ความสนใจเยอะพอสมควร อาจเพราะเป็น อาชีพที่มีภาพลักษณ์และรายได้ดีไม่แพ้แอร์โฮสเตส โดยตำแหน่งพนักงานภาคพื้น มีหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้การขนส่งผู้โดยสารจากพื้นดินจนถึงออกเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย ดังนั้นจึงมีตำแหน่งที่ประกอบด้วยกันหลายส่วนงาน และแน่นอนว่า เราในฐานะผู้โดยสาร ก็จะได้พบเจอกับเจ้าหน้าที่ส่วนนี้ตั้งแต่เหยียบย่างเข้ามาในสนามบิน จนถึงขึ้นเครื่อง


สำหรับน้องๆ คนไหนสนใจอาชีพนี้ อยากรู้ว่าตัวเองเหมาะสมหรือไม่ และจะต้องเรียนต่อทางด้านไหน สามารถเข้ามาดูรายละเอียดการเรียนต่อได้ที่นี่เลยค่ะ

1. 
Admission Planning รู้จักคณะสาขา
2. เรียนต่อด้านการบิน 
3.
รวมหลักสูตรการบิน 




ขอบคุณภาพประกอบจาก : ChinaAviationDaily.com 
 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด