หน้าแรก เรียนการบิน อาชีพในอนาคต

ปัญหานักบินขาดแคลน วิกฤตของอุตสาหกรรมการบิน

วันที่เวลาโพส 07 กุมภาพันธ์ 60 17:50 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium

ข้อมูลของ สมาคมนักบินไทย ระบุว่า ในประเทศไทยมีนักบินพาณิชย์กว่า 4,000 คน ฟังดูเหมือนจะเยอะ แต่ด้วยปริมาณสายการบินที่เพิ่ม เส้นทางการบินที่หลากหลายและครอบคลุมการบินมากขึ้น ยิ่งทำให้ “นักบิน” เป็นที่ต้องการของตลาดมากตามไปด้วย แต่การผลิตนักบินนั้น ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และฝึกฝนนานพอสมควร จึงส่งผลให้สถาบันการศึกษาต่างๆ ผลิตนักบินไม่ทันและไม่เพียงพอกับการเติบโตของธุรกิจสายการบิน


UploadImage

จากการให้สัมภาษณ์ของ กัปตันสนอง มิ่งเจริญ นายกสมาคมนักบินไทย กล่าวว่า " ตอนนี้ถือว่านักบินอยู่ในภาวะที่ขาดแคลนอย่างมาก ซึ่งปัจจัยมาจากสายการบินที่มีเพิ่มปริมาณมากขึ้น และคนที่จะขึ้นมาเป็นกัปตันได้นั้นต้องใช้นาน แต่ปริมาณสายการบิน เส้นทางบินมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อนักบินมีไม่พอกับความต้องการของธุรกิจการบิน จึงทำให้เกิดปัญหาคนขาดตามมา โดยธุรกิจสายการบินในปัจจุบันเลือกใช้การดึงคน หรือรับสมัครนักบิน จากสายการบินที่มีนักบินเยอะแทน ที่ง่ายกว่านั้น คือไปรับสมัครมาจากสายการบินอื่นๆ เรียกว่า ดึงกันไปดึงกันมา ก็เลยทำให้นักบินขาด และไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งตอนนี้นักบินพาณิชย์ที่มีชั่วโมงบินขาดแคลน จากที่จะสร้างเพิ่มหรือพัฒนาคนให้เพียงพอต่อความต้องการ "


UploadImage

และตามกฎการบิน ภายใน 1 ปี  นักบิน 1 คน จะห้ามบินเกิน 1,000 ชั่วโมง ซึ่งเฉลี่ยจะบินได้คนละ 83 ชั่วโมงต่อเดือน และห้ามบินติดต่อกัน 35 ชั่วโมงภายใน 7 วัน  แต่ธุรกิจสายการบินจะขึ้นอยู่กับช่วงท่องเที่ยวในแต่ละช่วง ถ้ามีช่วงท่องเที่ยวก็มีการเพิ่มจำนวนของผู้โดยสารก็จะมาก ก็จะมีการทำการบินมากหน่อย แต่ถ้าเป็นช่วง Low Season ก็มีชั่วโมงบินน้อยลง แต่สุดท้ายรวมกันไม่เกิน 1 ปี ก็จะบินรวมกันไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง ยิ่งทำให้นักบินที่มีอยู่น้อยกลับขาดแคลนขึ้นไปอีก

กัปตันสนอง กล่าวต่อว่า “อาชีพนักบินใครก็อยากเป็น แต่ว่าต้องใช้เงินทุนในการเรียนเยอะ ถ้าจะแก้ปัญหาระยะยาวในเรื่องนี้ ต้องมีการสนับสนุนจากภาครัฐ ถ้าจะให้ไปเรียนบินเองมันก็ยากเหมือนกัน การสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น คนเป็นนักบิน มีค่าสนับสนุนค่าน้ำมัน นักบินก็บินได้ จบมาก็เป็นนักบิน ถ้าใครหมดภารกิจด้านการบินในกองทัพก็ลาออกมาเป็นนักบินพาณิชย์ ตอนนี้บุคคลเหล่านั้นเรียกว่าเหลือน้อยเต็มที จึงอยากให้มีการสนับสนุนเยาวชนที่มีความพร้อม หรือส่งทุนให้นักบิน น่าจะเป็นวิธีแก้ไขระยะยาวมากกว่า”

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น น้องๆ หลายคนที่มีความใฝ่ฝันและเห็นโอกาสในการทำงาน ก็ควรต้องมีการเตรียมทั้งร่ายกาย สติปัญญา ช่องทางการศึกษา และทุนทรัพย์ พร้อมรับความกดดันและท้าทายในอาชีพ “นักบิน” ได้ต่อไปในอนาคต


 
ขอบคุณเนื้อหาจาก : PPTV HD
 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด