รู้จักคณะสาขา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมระบบวัดคุม
เรียนเกี่ยวกับ

เน้นหนักที่ความสามารถในการควบคุมเครื่องจักร ควบคุมการทำงานเป็นระบบ ควบคุมการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ควบคุมการทำงานร่วมกันทั้งระบบของเครื่องจักรจำนวนมาก โดยเน้นที่การศึกษาการทำงานของระบบเครื่องจักรที่มีอยู่ในอุตสาหกรรม ศึกษาการใช้งานเครื่องมือวัด ศึกษาการวิเคราะห์ผลที่แสดงออกบนเครื่องมือวัดว่าสามารถทำงานได้ประสิทธิภาพอย่างไร ศึกษาการแก้ไขและออกแบบอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรจากผลที่วัดออกมาได้
คุณสมบัติ
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือ ประกาศนียบัตรอื่นๆที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอก เขตโรงเรียนสายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
2. ต้องไม่เป็นผู้กำลังศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ร่วมในการคัดเลือกนี้ เว้นแต่ได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน
3. ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
# | มหาวิทยาลัย | คณะ/สาขา | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปวช. | ปวส. | ป.ตรี | ป.โท | ป.เอก | |||
1 | สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน | คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการวัดคุม | |||||
2 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา | คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการวัดคุม | |||||
3 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี | คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด | |||||
4 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ | คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมการวัดคุมและอัตโนมัติ | |||||
5 | สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง | คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการวัดคุม | |||||
6 | สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง | คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมระบบควบคุม | |||||
7 | สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร | คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการวัดคุม |
แนวทางการประกอบอาชีพ
วิศวกรระบบวัดคุม เชี่ยวชาญด้านระบบการทำงานของเครื่องจักรอุตสาหกรรม การออกแบบให้เครื่องจักรทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเชี่ยวชาญในการใช้งานอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆ (Sensor) ตัวอย่างเช่น ตัววัดอุณหภูมิ ตัววัดค่าความชื้น ตัววัดค่าความดันในเครื่องจักร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์การทำงานแบบรวบยอด ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน หรือสามารถออกแบบการทำงานของทั้งโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
โอกาสหางานง่าย
8/10
ความยากง่ายในการเรียน
8/10
ตรงกับเทรนด์อนาคต
อาเซียน
ที่มาข้อมูล
http://inc.kmutt.ac.th
http://pr.rmutr.ac.th/wp301/?p=18626
http://www.mut.ac.th/department.php?id=7
http://www.admissionpremium.com/u-review/64
http://thailandindustry.com/guru/view.php?id=19058§ion=9&rcount=Y
http://thailandindustry.com/guru/view.php?id=19026§ion=9&rcount=Y