รู้จักคณะสาขา
คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์
เรียนเกี่ยวกับ

มุ่งเน้นทางด้านการชันสูตรโรค และตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ (Lab Practitioner) ที่เกิดกับสัตว์ ทั้งในสัตว์เลี้ยงและสัตว์เศรษฐกิจ รวมถึงการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างหรือสารพิษในอาหารสัตว์และอาหารคน การวิเคราะห์คุณภาพอาหารของสัตว์และคน นอกจากนี้บัณฑิตยังจะต้องสามารถทำหน้าที่พยาบาลและดูแลสัตว์ในเบื้องต้นได้ (Veterinary Nurse)
สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ (Veterinary Technology) ทำหน้าที่เชิงบูรณาการในกลุ่มการดูแลสุขภาพสัตว์ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการดูแลและจับบังคับสัตว์ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการชีวิตทั้งปกติและผิดปกติของสัตว์และสามารถปฏิบัติหน้าที่การจัดการดูแลสัตว์ การตรวจชันสูตรทางปฏิบัติการและสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นพยาบาลสัตว์ได้ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล (Supervision) ของสัตวแพทย์ผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น 1 เท่านั้น โดยสามารถเป็นผู้สนับสนุนในงานสัตวแพทย์ในหลายประการ แต่ไม่สามารถบำบัดรักษาโรค วินิจฉัยโรค จ่ายยา ผ่าตัด ฉีดยา หรือการกระทำอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดห้ามได้ โดยปัจจุบันประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะสำหรับอาชีพเทคนิคการสัตวแพทย์ (การปฏิบัติหน้าที่ด้านพยาบาลสัตว์ หรือการสนับสนุนช่วยเหลือสัตวแพทย์ด้านบำบัดรักษา นักเทคนิคการแพทย์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เพียงลำพัง ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสัตวแพทย์ผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น 1 เท่านั้น ยกเว้นการปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ เช่น นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ด้านสัตว์ทดลอง ฯลฯ
คุณสมบัติ
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือ ประกาศนียบัตรอื่นๆที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอก เขตโรงเรียนสายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
2. ต้องไม่เป็นผู้กำลังศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ร่วมในการคัดเลือกนี้ เว้นแต่ได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน
3. ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
# | มหาวิทยาลัย | คณะ/สาขา | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปวช. | ปวส. | ป.ตรี | ป.โท | ป.เอก | |||
1 | มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ | |||||
2 | มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร | คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ | |||||
3 | มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | คณะเทคโนโลยี สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ | |||||
4 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคกาฬสินธุ์ | คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ | |||||
5 | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน | คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ สาขาการพยาบาลสัตว์ | |||||
6 | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน | คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ |
แนวทางการประกอบอาชีพ
สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ กรมปศุสัตว์ กรมประมง มหาวิทยาลัย (ในสายงานอาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์) กรมวิชาการเกษตร โรงพยาบาลสัตว์ ห้องปฏิบัติการของรัฐ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ห้องปฏิบัติการและดูแลสัตว์ทดลอง) กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงมหาดไทย (องค์การปกครองท้องถิ่น) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) (ห้องปฏิบัติการและดูแลสัตว์ทดลอง) กรมการสัตว์ทหารบก กระทรวงกลาโหม องค์การสวนสัตว์ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ฯลฯ หน่วยงานเอกชน ได้แก่ คลินิกและโรงพยาบาลสัตว์เอกชน ห้องปฏิบัติการเอกชน บริษัทที่มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของยาสัตว์ เครื่องมือและอาหารสัตว์ บริษัทที่มีการผลิตสินค้าจากสัตว์ ธุรกิจฟาร์มและห้องปฏิบัติการฟาร์ม ฯลฯ และประกอบอาชีพส่วนตัว
ที่มาข้อมูล
http://www.vnsp.vettech.ku.ac.th
http://www.vettech.ku.ac.th/vtdirect
https://www.emaze.com/@ALRZCTOO/Career-Shadow-PowerPoint-Presentation
http://www.georgiancollege.ca/academics/full-time-programs/veterinary-technician-vetn