รู้จักคณะสาขา

คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์

เรียนเกี่ยวกับ

UploadImage

ศึกษาเกี่ยวกับ
1. ศึกษาเชิงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั้งทางกายภาพและชีวภาพ เชื่อมโยงกัน เช่น ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา อุทกศาสตร์ นิเวศวิทยา เป็นต้น
2. ศึกษาปัยจัยทางภูมิศาตร์เชื่อมโยงกับหลักการของสายวิชาการแขนงอื่นๆ เช่น ภูมิศาสตร์เศรฐกิจ ภูมิศาสตร์การเมือง ภูมิศาสตร์การขนส่ง ภูมินิเวศ ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว ภูมิศาสตร์ประชากร เป็นต้น
3. ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เช่น สถิติทางภูมิศาสตร์ ระบบสารสนเทศภูมิศาตร์(GIS) การสำรวจจากระยะไกล(Remote Sensing) การเขียนแผนที่และการแปลแผนที่ การสำรวจในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น
4. ศึกษาเกี่ยวกับวิชาเสริมทักษะทางภูมิศาสตร์ (เช่น ภาษาอังกฤษในวิชาภูมิศาสตร์ คอมพิวเตอร์เบื้อต้นสำหรับนักภูมิศาสตร์)

คุณสมบัติ

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือ ประกาศนียบัตรอื่นๆที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอก เขตโรงเรียนสายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
2. ต้องไม่เป็นผู้กำลังศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ร่วมในการคัดเลือกนี้ เว้นแต่ได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน
3. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกแผนการเรียน หรือเทียบเท่า

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

# มหาวิทยาลัย คณะ/สาขา
1 มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาขาภูมิศาสตร์          
2 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา          
3 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะวิทยาการสารสนเทศ สาขาภูมิสารสนเทศ          
4 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์          
5 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ คณะอักษรศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม          
6 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ คณะอักษรศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์          
7 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์          
8 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สาขาภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม          
9 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์เชิงท่องเที่ยว          
10 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สำนักวิชาสังคมศาสตร์ สาขาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์          
11 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภูมิสารสนเทศ          
12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาภูมิสารสนเทศ          
13 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภูมิสารสนเทศ          
14 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีภูมิศาสตร์          
15 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คณะมนุษยศาสตร์ สาขาภูมิสารสนเทศ          
16 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ          
17 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาสำรวจและภูมิสารสนเทศ          
18 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ          
19 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์          
20 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน คณะสังคมศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์          
21 มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาศาสตร์ สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์          
22 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์        
23 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ สาขาภูมิสารสนเทศ          
24 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์          
25 มหาวิทยาลัยทักษิณ เทคโนโลยีการเกษตร สาขาภูมิศาสตร์        
26 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาภูมิสารสนเทศ        
27 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนยรังสิต คณะศิลปศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์          
28 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์          
29 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์      
30 มหาวิทยาลัยพะเยา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์          
31 มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะศึกษาศาสตร์ สาขาแผนที่และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์          
32 มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะศึกษาศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์กายภาพและสิ่งแวดล้อม          
33 มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะศึกษาศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์มนุษย์          
34 มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะศึกษาศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์          
35 มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ          
36 มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น คณะวิทยาศาสตร์ สาขาภูมิสารสนเทศ          

แนวทางการประกอบอาชีพ

    สามารถจัดการข้อมูลในส่วนสารสนเทศของหน่วยงานซึ่งมีหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนกว่าร้อยหน่วยงาน
1. นักวิเคราะห์และวางแผนงาน
2. นักวิชาการภูมิสารสนเทศ
3. ผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบคุณภาพการนำเข้าและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์
4. ประกอบอาชีพส่วนตัว

ที่มาข้อมูล

http://www.sciencetech.nrru.ac.th/gis
http://www.ajarnveerapong.com/taxmap.php
http://tak.dnp.go.th/Home_files/Division/Information/index_Activity1.html

SHARED