รู้จักคณะสาขา

คณะโลจิสติกส์ สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ

เรียนเกี่ยวกับ

UploadImage

     การเรียนการสอนในสาขาวิทยาการเดินเรือ เป็นหลักสูตรที่คอนข้างจำเพาะมาก เพราะการเรียน 5 ปี ต้องเดินทางไปทำงานในห้องขับเรือ เรียกว่า สะพานเดินเรือ ซึ่งมี 2 ส่วน ส่วนหนึ่ง คือ คนที่จบวิศวกรรมเครื่องกล ก็จะดูแลเครื่องกลเรือ แต่ในส่วนของบัณฑิตที่จบวิทยาการเดินเรือ มีหน้าที่เดินเรือหรือขับเรือนั่นเอง ซึ่งโดยลักษณะงาน จะต้องขีดเส้นทางการเดินเรือ ดูดาราศาสตร์ ควบคุมเรดาห์การเดินเรือ
     เป้าหมายสูงสุดของบัณฑิตในสาขานี้ คือ เป็นกัปตันเรือ โดยเริ่มต้นจากการเป็นนักเดินเรือระดับต้น (3rd Officer) ไต่ลำดับขึ้นไปเป็น ต้นหน และกัปตันเรือ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดบนเรือ คนที่จะมาทำงานด้านนี้จะต้องเดินทางไปกับเรือทั่วโลก แล้วแต่ว่าจะได้รับมอบหมายให้ไปเส้นทางไหน เช่น วิ่งในเส้นทางแหลมฉบัง สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เซี่ยงไฮ้ โนโกฮามา เป็นต้น

คุณสมบัติ

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือ ประกาศนียบัตรอื่นๆที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอก เขตโรงเรียนสายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
2. ต้องไม่เป็นผู้กำลังศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ร่วมในการคัดเลือกนี้ เว้นแต่ได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน
3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

# มหาวิทยาลัย คณะ/สาขา
1 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะโลจิสติกส์ สาขาวิทยาการเดินเรือ          

แนวทางการประกอบอาชีพ

     สภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการประกอบอาชีพชาวเรือ จัดเป็นอาชีพพิเศษเฉพาะอีกอาชีพหนึ่ง ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาหลักสูตรนักเรียนเดินเรือพาณิชย์จากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีและได้รับประกาศนียบัตรจากกรมการขนส่งทางนํ้าและพาณิชยนาวีแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะประกอบอาชีพในกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทางเรือ เช่น
1. หน่วยงานราชการ (ตำแหน่งที่รองรับมีจำนวนจำกัด)
- กรมการขนส่งทางนํ้าและพาณิชยนาวี
- กรมศุลกากร
- กรมประมง
2. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ (ตำแหน่งที่รองรับมีจำนวนจำกัด)
- การท่าเรือแห่งประเทศไทย
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ส่วนงานที่เกี่ยวกับเรือ)
3. หน่วยงานบริษัทเอกชน (ตำแหน่งงานที่พร้อมรองรับมีจำนวนมาก)
- บริษัทเรือต่าง ๆ ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศทั่วโลก (ทำงานในระดับนายประจำ เรือ)
- บริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินเรือ
- บริษัทที่เกี่ยวกับแท่นขุดเจาะนํ้ามันกลางทะเล, กิจการขุดแร่ในทะเล
- อู่ต่อเรือและอู่ซ่อมเรือ (ทำงานในระดับนายช่างกล)
- บริษัทอะไหล่เรือ (ทำงานในระดับวิศวกร)

ที่มาข้อมูล

http://www.cns.ac.th
http://v2.m2fjob.com

SHARED