รู้จักคณะสาขา
คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชากายภาพบำบัด
เรียนเกี่ยวกับ
เป็นวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แขนงหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการป้องกัน รักษา ส่งเสริม และฟื้นฟูสมรรถภาพ ร่างกายของผู้ที่มีความผิดปกติอันเนื่องมาจากโรคหรือการบาดเจ็บ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน แก้ไข รักษา และเพิ่มพูนสมรรถภาพร่างกายที่ผิดปกติให้กลับคืนสู่สภาพที่ดี งานทางกายภาพบำบัดเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้าม เนื้อ ระบบทางเดินหายใจและการไหลเวียนโลหิต และระบบประสาททั้งในเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงการกระตุ้นพัฒนาการในกลุ่มเด็กพิเศษ การดูแลปัญหาสุขภาพสตรีและหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ รวมทั้งการดูแลและฟื้นฟูการบาดเจ็บทางการกีฬา
คุณสมบัติ
ผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 วิทย์-คณิต หรือเทียบเท่า
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
# | มหาวิทยาลัย | คณะ/สาขา | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปวช. | ปวส. | ป.ตรี | ป.โท | ป.เอก | |||
1 | มหาวิทยาลัยมหิดล | คณะกายภาพบำบัด สาขากายภาพบำบัด | |||||
2 | มหาวิทยาลัยมหิดล | คณะกายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด | |||||
3 | มหาวิทยาลัยรังสิต | คณะกายภาพบำบัด สาขากายภาพบำบัด | |||||
4 | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | คณะกายภาพบำบัด สาขากายภาพบำบัด | |||||
5 | วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ | คณะกายภาพบำบัด สาขากายภาพบำบัด |
แนวทางการประกอบอาชีพ
นักกายภาพบำบัดจะรักษาอาการผิดปกติของร่างกาย เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด อัมพาต โรคหัวใจ หรือโรคประสาทด้วยวิธีกายภาพบำบัด หรือวิธีอื่นๆ ที่มิใช่การรักษาด้วยยา และโดยปกติเป็นการปฏิบัติงานตามคำสั่งของแพทย์ ชี้แจงผู้ป่วยให้ออกกำลังกาย เพื่อรักษาโรคกล้ามเนื้อไม่ปกติ และหย่อนประสิทธิภาพใช้มือนวดตามร่างกายของผู้ป่วยให้การรักษาด้วยการฉายแสงอาทิตย์เทียม แสงอัลตราไวโอเลต หรืออินฟราเรดและมุ่งเน้นช่วยตรวจสอบค้นหาข้อบกพร่องให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยอิสระ และจะต้องให้การช่วยเหลือด้านพัฒนาการร่างกาย ด้านจิตเวช
โดยมีขอบเขตความรับผิดชอบ ดังนี้
1. ช่วยตรวจสอบค้นหาข้อบกพร่อง รวมทั้งให้การบำบัดรักษาในเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ
2. ช่วยกระตุ้น ฟื้นฟู และส่งเสริมความสามารถในผู้ที่มีปัญหาด้านการรับรู้ และการเรียนรู้
3. สอน และฝึกหัดกิจวัตรประจำวัน เช่น การเคลื่อนย้ายตัว สุขอนามัยส่วนบุคคล การรับประทานอาหาร เป็นต้น
4. ให้การรักษาพิเศษ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถทางกาย ได้แก่ เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อเพิ่มความ ทนทานในงานสหสัมพันธ์ ในการทำงาน เป็นต้น
5. ดัดแปลงอุปกรณ์ช่วย อุปกรณ์เสริม และเทียมให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย รวมทั้งฝึกหัดการใช้และการดูแลรักษา
6. ดัดแปลงสภาพบ้าน และขจัดสิ่งกีดขวางทางสถาปัตยกรรม
7. ให้การรักษาพิเศษแก่ผู้ที่มีปัญหาด้านจิตใจ สังคม อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยโรค ช่วยลด หรือขจัดแรงขับทางอารมณ์ แก้ไข และปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดการกับความเครียดหรือความวิตกกังวล
8. ประเมินสมรรถภาพทางร่างกาย และจิตใจ การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ความสนใจงานนิสัยในการทำงาน รวมทั้งปรับปรุงทักษะ และศักยภาพในการประกอบอาชีพ
9. แนะนำโครงการการใช้ชีวิต และการปรับตัวภายหลังการเกษียณให้ผู้สูงอายุ และผู้มีปัญหาทางร่างกายหรือพิการ
นักกายภาพบำบัดจะสามารถทำงานตามหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนดังต่อไปนี้
- โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลเฉพาะทาง
- ศูนย์ฟื้นฟูสภาพผู้พิการ
- สถาบันให้การดูแลหรือบำบัดรักษาผู้สูงอายุ
- ทัณฑสถาน
- ศูนย์รักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
- สถาบันรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยทางจิตสังคม
- ศูนย์บริการทางสาธารณสุข
- โรงเรียนรัฐบาล
- โรงเรียนหรือคลินิกสำหรับเด็กพิเศษ
- ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก
ที่มาข้อมูล
http://intranet.mfu.ac.th
http://www.pt.mahidol.ac.th
https://deborahkoval.wordpress.com
http://www2.rsu.ac.th/Institution/Physical-Therapy