รู้จักคณะสาขา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
เรียนเกี่ยวกับ

ศึกษาความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งกระบวนการตั้งแต่การวิเคราะห์ออกแบบไปจนถึงขั้นตอนของการทดสอบ นอกจากนี้ยังศึกษาด้านวิศวกรรมความรู้ และมีวิชาเลือกด้านปัญญาประดิษฐ์และด้านวิศวกรรมความรู้ เช่น การทำเหมืองข้อมูล คลังข้อมูล และระบบช่วยตัดสินใจ เป็นต้น
คุณสมบัติ
1. ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
2. ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ให้ศึกษารายวิชาต่างๆ เทียบเท่าเกณฑ์หลักสูตรการศึกษาในโรงเรียน สำหรับหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ให้แสดงหลักฐานว่าได้ศึกษาภาคปฏิบัติการเทียบเท่า หลักสูตรการศึกษาในโรงเรียน
3. ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทช่างอุตสาหกรรม(คอมพิวเตอร์)
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
# | มหาวิทยาลัย | คณะ/สาขา | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปวช. | ปวส. | ป.ตรี | ป.โท | ป.เอก | |||
1 | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต | คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
2 | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | คณะสถิติประยุกต์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
3 | มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี | คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
4 | มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | คณะเทคโนโลยีการอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
5 | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ | เทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
6 | มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี | คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
7 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
8 | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน | คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ | |||||
9 | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
10 | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนยรังสิต | คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
11 | มหาวิทยาลัยบูรพา | คณะวิทยาการสารสนเทศ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
12 | มหาวิทยาลัยพะเยา | คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
13 | มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
14 | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
15 | สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง | วิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
16 | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
17 | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
18 | มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ | คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
19 | มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |||||
20 | มหาวิทยาลัยพายัพ | คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ |
แนวทางการประกอบอาชีพ
1. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
2. นักเขียน/พัฒนาโปรแกรม(Programmer/Developer)
3. นักวิเคราะห์ระบบหรือนักออกแบบระบบ (System Analyst / Designer)
4. วิศวกรความต้องการ (Requirement Engineer)
5. นักประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality Assurance)
6. วิศวกรปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement Engineer)
7. นักทดสอบระบบซอฟต์แวร์ (Software Tester)
8. สถาปนิกซอฟต์แวร์ (Software Architect)
9. นักบูรณาการระบบ (System Integrator)
10. ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ (Software Project Manager)
11. เจ้าของธุรกิจด้านเทคโนโลยี
ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
โอกาสหางานง่าย
8/10
ความยากง่ายในการเรียน
8/10
ตรงกับเทรนด์อนาคต
ดิจิตอล
ที่มาข้อมูล
https://te.psu.ac.th
http://www.lpru.ac.th
http://www.theactkk.net