หน้าแรก บัญชี ข่าว/บทความ

PromptPay (พร้อมเพย์) ธุรกรรมทางการเงินยุคใหม่ ที่คุณต้องรู้!!!

วันที่เวลาโพส 06 กุมภาพันธ์ 60 09:49 น.
อ่านแล้ว 0
P' ก๊อตจิ AdmissionPremium
UploadImage
          เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560 กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ร่วมกันเปิดบริการ PromptPay (พร้อมเพย์) อย่างเป็นทางการ เริ่มให้บริการรับเงินและโอนเงินทางเลือกใหม่โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือเลขประจำตัวประชาชนแทนเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร ในส่วนธุรกรรมระหว่างบุคคล (Person to Person) เพิ่มความสะดวก และประหยัด ในการรับเงินและโอนเงินให้กับประชาชนนับเป็นก้าวสำคัญสู่ การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบการช าระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) เพื่อวางรากฐานสู่การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย
 
UploadImage
 
PromptPay (พร้อมเพย์) มีวิธีการผูกบัญชีเงินฝากเข้ากับข้อมูลส่วนบุคคลได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะผู้ที่มีบัญชีหลายบัญชี ซึ่งเราสามารถผูกบัญชีเงินฝากได้สูงสุด 4 บัญชีจะธนาคารเดียวกันหรือต่างธนาคารก็ได้ โดยจะมี 4 รูปแบบให้เลือกใช้บริการดังนี้

- แบบที่ 1 ใช้บัตรประชาชนและโทรศัพท์มือถือ ผูกกับบัญชีเงินฝาก 1 บัญชี แบบนี้เราสามารถใช้ทั้งเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือในการโอนเงินได้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีบัญชีเพียงบัญชีเดียวที่ใช้เป็นบัญชีหลัก เพราะสะดวกในการแจ้งข้อมูลในการใช้โอนเงิน

- แบบที่ 2 ใช้บัตรประชาชนและเบอร์โทรศัพท์มือถือมากกว่า 1 หมายเลขผูกกับบัญชีเงินฝาก 1 บัญชี สูงสุดได้ถึง 3 หมายเลข แบบนี้สามารถใช้ข้อมูลใดก็ได้สำหรับการโอนเงิน เช่น มีโทรศัพท์ไว้ติดต่อลูกค้าหลายเครื่อง เมื่อลูกค้าต้องการโอนเงินก็ให้โอนผ่านเลขโทรศัพท์เลขใดก็ได้ทั้ง 3 หมายเลข เพราะทุกบัญชีก็จะถูกโอนเข้าบัญชีเดียวกันหมด

- แบบที่ 3 ใช้บัตรประชาชน ผูกกับบัญชี A และใช้หมายเลขโทรศัพท์ผูกกับบัญชี B โดยบัญชีที่ผูกกับโทรศัพท์สามารถผูกได้สูงสุด 3 หมายเลข โดยบัญชี A จะใช้สำหรับรับเงินจากรัฐบาล ส่วนบัญชี B สำหรับใช้ติดต่อธุรกิจ

- แบบที่ 4 ใช้บัตรประชาชน ผูกกับบัญชี A หมายเลขโทรศัพท์ที่ 1 ผูกกับบัญชี B หมายเลขโทรพศัพท์ที่ 2 ผูกกับบัญชี B หมายเลขโทรศัพท์ที่ 3 ผูกกับบัญชี C และหมายเลขโทรศัพท์ที่ 4 ผูกกับบัญชี D โดยบัญชี A จะใช้สำหรับรับเงินสวัสดิการหรือติดต่อกับราชการ ส่วนบัญชี B ถึง D ใช้สำหรับทำธุรกรรมการค้าต่างๆ ได้
 
***ข้อสังเกตุสำหรับบัญชีที่ใช้ผูกกับเลขบัตรประชาชน จะต้องเป็นเลขบัญชีหลักที่ใช้เพื่อรับสวัสดิการและผลประโยชน์ต่างๆ ที่ทางรัฐบาลจะจ่ายให้ เช่น การคืนภาษี เงินสงเคราะห์ เงินช่วยเหลือต่างๆ เป็นต้น
 
 

ขอบคุณเนื้อหาจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย และ businesssof

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด