หน้าแรก บัญชี ข่าว/บทความ

ปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดา...เงินเดือนไม่ถึง 26,000 ไม่ต้องเสียภาษี!!!

วันที่เวลาโพส 24 มกราคม 60 10:50 น.
อ่านแล้ว 0
P' ก๊อตจิ AdmissionPremium
           ในปี 2560 กรมสรรพากรได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดา ทำให้คุณเสียภาษีน้อยลง เพิ่มค่าลดหย่อนส่วนตัว คู่สมรส บุตร หักค่าจ่ายได้เพิ่ม โดยเงินเดือนไม่ถึง 26,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี!!!
 
UploadImage

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เมื่อการประชุมวันที่ 19 เมษายน 2559  โดยเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนในหลายรายการ ซึ่งจะทำให้คนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเสียภาษีน้อยลงในปีภาษี 2560 ดังนี้

ปรับปรุงค่าใช้จ่าย
 
1. เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท คือ เพิ่มการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ
 
2. ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าลิขสิทธิ์ ร้อยละ 40แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ขยายเพิ่มให้ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าวแต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้


ปรับปรุงค่าลดหย่อน
 
- เพิ่มค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
- เพิ่มค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
- กรณีคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
- เพิ่มค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 15,000 บาท (ไม่เกิน 3 คน) เป็นคนละ 30,000 บาท ไม่จำกัดจำนวน
- ยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร จากเดิมให้หักลดหย่อนได้คนละ 2,000 บาท
- กองมรดกเดิมให้หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เดิมให้หักลดหย่อนแก่หุ้นส่วนคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท ปรับใหม่เป็นคนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท


อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่
 
นอกจากนี้ยังได้ปรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ โดยจากเดิมมีรายได้สุทธิ 4,000,001 บาทขึ้นไปต้องเสียภาษี 35% ปรับเป็นต้องมีรายได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป ดังนี้
 
 


ที่มา : กรมสรรพากร

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด