สอบเข้ามหาวิทยาลัย

อยากเป็นหมอ แต่เรียนแค่ 4 ปี ? ทุกสาขาป.ตรี มีโอกาสเป็นหมออินเตอร์ที่จุฬาฯ! ไม่กำหนดขั้นต่ำ GPAX ในหลักสูตรนานาชาติ 4 ปี

    ทุกสาขาป.ตรี มีโอกาสเป็นหมออินเตอร์ที่จุฬาฯ! ไม่กำหนดขั้นต่ำ GPAX ในหลักสูตรนานาชาติ 4 ปี
     
     แอดมินพามารู้จักกับ CU-MEDi คณะแพทย์อินเตอร์จากจุฬาฯ ที่เรียนจบแค่ใน 4 ปีเท่านั้นและที่สุดแสนจะพิเศษคือ ไม่ว่าน้องๆจะจบปริญญาตรีมาจากคณะไหน ก็สามารถสมัครเข้าเรียนในโปรแกรมนี้ได้! พร้อมเปิดประตูสู่โลกแพทย์อินเตอร์กับเราหรือยัง? ไปดูรายละเอียดกันนนน


  • CU-MEDi คืออะไร
     CU-MEDi หรือหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตนานาชาติ ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นหลักสูตรที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสและขยายขอบเขตให้กับบุคคลที่มีความสนใจในวิชาการแพทย์ โดยไม่จำกัดวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีให้อยู่ในเฉพาะสาขา หลักสูตรนี้จึงเป็นการตอบสนองความต้องการของบุคคลที่มีพื้นฐานการศึกษาหลากหลาย รวมถึงผู้ที่มีศักยภาพด้านภาษาอังกฤษ และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความรู้และทักษะในทางการแพทย์เพื่อเติบโตเป็นแพทย์มืออาชีพที่มีคุณภาพและสามารถปฏิบัติงานในระดับสากลได้ในอนาคต
  • เปิดรับจำนวนนักศึกษา 40 คน/ปี
  • กำหนดการรับสมัคร
    • การสมัครออนไลน์: 1 - 22 กุมภาพันธ์ 2024 ถึงเวลา 13.00 น.
    • สอบสัมภาษณ์และการประเมินจิตวิทยา: 2 เมษายน 2024
    • ประกาศรายชื่อผู้ผ่านสัมภาษณ์: 19 เมษายน 2024
    • ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือก: 24 พฤษภาคม 2024
    • ปรับพื้นฐาน: มิถุนายน - กรกฎาคม 2024
    • การลงทะเบียนกับมหาวิทยาลัย: กรกฎาคม 2024
    • เปิดภาคการศึกษาแรก: สิงหาคม 2024

  • หลักสูตรการศึกษา CU-MEDi
     หลักสูตรการศึกษาทางการแพทย์ที่จัดเตรียมในระยะเวลา 4 ปีได้ถูกออกแบบมาอย่างละเอียดเพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมของนักเรียนให้ก้าวสู่วงการแพทย์ด้วยความเข้าใจที่ครอบคลุม โดยหลักสูตรสามารถจำแนกเป็นสามระยะหลักดังนี้ :
  1. ระยะ Pre-clerkship: ระยะนี้เน้นการเรียนรู้ทางทฤษฎีในห้องเรียนเป็นหลักเพื่อสร้างพื้นฐานความรู้ทางการแพทย์ ผ่านหลักสูตร 'integrated medical science modules' ที่ออกแบบมาเพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับการฝึกปฏิบัติหน้าที่จริงในระยะถัดไป
  2. ระยะ Clerkship: ระยะนี้เป็นช่วงที่นักเรียนได้รับโอกาสในการฝึกปฏิบัติจริงภายใต้การดูแลของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล รวมถึงการทำงานในห้องผ่าตัด ห้องคลอด และแผนกฉุกเฉิน โดยมีความพิเศษในการฝึกปฏิบัติจริงที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
  3. ระยะ Externship: เป็นช่วงสุดท้ายของหลักสูตรที่นักเรียนจะได้ฝึกฝนและปรับปรุงทักษะทางคลินิกเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นแพทย์มืออาชีพ โดยเน้นทักษะการตัดสินใจทางคลินิกและการจัดการเชิงอาชีพ นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการรักษาผู้ป่วยในระดับสากลและการทำวิจัยเพื่อขยายขอบเขตความรู้และประสบการณ์ทางการแพทย์
    สถานที่เรียน
  • Preclerkship (ภาคเรียนที่ 1 - 3) ชั้นเตรียมคลินิก เรียนที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรพ. จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
  • Clerkship (ภาคเรียนที่ 4 - 5) ชั้นคลินิก เรียนที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรพ.สมเด็จ
    พระบรมราชเทวี (ศรีราชา ชลบุรี)
  • Externship (ภาคเรียนที่ 6 - 8) ชั้นคลินิก เรียนที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี (ศรีราชา ชลบุรี) และสถาบันความร่วมมือในต่างประเทศตามที่กำหนด
     สำหรับคนที่เรียนจบหลักสูตรนี้จะได้วุฒิแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) หรือ Doctor of Medicine Degree (M.D.) และยังได้ Medical License ประกอบวิชาชีพแพทย์ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย
 
  • เกณฑ์การคัดเลือก
    • จบปริญญาตรีหรือกำลังศึกษาชั้นปีสุดท้าย และคาดว่าจะจบก่อน 31 กรกฎาคม 2567
    •  ไม่กำหนดสาขาวิชา และ GPAX ขั้นต่ำ
  • เอกสารคุณวุฒิ
    • สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี: ระเบียนแสดงผลการเรียนทุกภาคการศึกษาตลอดหลักสูตรระดับปริญญาตรี
    • สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย: ใบรับรองผลการศึกษาที่สถานศึกษาออกให้และใบระเบียนแสดงผลการเรียนทุกภาคการศึกษา (ยกเว้นชั้นปีสุดท้าย)
  • ผลคะแนนสอบ Medical College Admission Test (MCAT) (อายุผลคะแนนไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร)
  • ผลคะแนนสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง อายุผลคะแนนไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร
    • TOEFL (Internet-based) ไม่ต่ำกว่า 85 หรือ
    • IELTS (Academic) ไม่ต่ำกว่า 7.0 
  • CV หรือ Portfolio (ประวัติการศึกษา การทำงาน และการร่วมกิจกรรมด้านจิตสาธารณะ การวิชาใจ หรือกิจกรรมวิชาการอื่นๆ
  • Statement of Purpose ที่แสดงตัวตน ความตั้งใจและความคาดหวังของการเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษขนาด A4 เป็นภาษาอังกฤษ (Font: Times New Roman ขนาด 2 single space)
    • มีจดหมายรับรอง 2 ฉบับ
  • ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร CU-MEDi
    หลักสูตรแพทย์อินเตอร์จุฬาฯ จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปีการศึกษา (2 ภาคการศึกษาต่อปี) โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 4.8 ล้านบาทตลอดหลักสูตรตามรายละเอียด ดังนี้
 
Fee / Semester (THB) Thai Students International Students
Tuition Fee 34,000 THB 106,000 THB
Program Fee 570,000 THB 570,000 THB
Total per Semester 604,000 THB 676,000 THB
Total for the entire four years 4,832,000 THB 5,408,000 THB
 
  • ทำไมถึงควรเลือก CU-MEDi
     CU-MEDi ยืนหยัดเป็นหลักสูตรแพทย์ที่ไม่เหมือนใครในประเทศไทย ด้วยแนวทางการศึกษาที่ทันสมัย ลดระยะเวลาการเรียนจาก 6 ปี เหลือเพียง 4 ปี เท่านั้น พร้อมทั้งการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสอน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้นักเรียนพร้อมสำหรับบทบาทแพทย์ในระดับสากล
หลักสูตรนี้ยังโดดเด่นด้วยการเน้นความรู้ทางการแพทย์ในระดับสากล หรือ global knowledge โดยเฉพาะ ส่งเสริมให้นักเรียนมีความพร้อมทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อตอบโจทย์มาตรฐานการสอบแพทย์ระดับนานาชาติ เช่น United States Medical Licensing Examination (USMLE) ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จำเป็นสำหรับการขอใบประกอบโรคศิลป์เพื่อประกอบอาชีพแพทย์ในสหรัฐอเมริกา
      นอกจากนี้ CU-MEDi ยังได้ริเริ่มโปรแกรม externship ที่ให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ทำงานจริงในสถาบันพันธมิตรชั้นนำของจุฬาฯ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ นี่คือโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับนักเรียนที่ปรารถนาจะขยายขอบข่ายการเป็นแพทย์ที่ไม่จำกัดอยู่เพียงในประเทศไทยเท่านั้น แต่สามารถก้าวไปสู่เวทีโลกได้อย่างมั่นใจ

   MMI หรือ Multiple Mini Interview MMI คืออะไร 
   UCAT หรือ University Clinical Aptitude Test คืออะไร 
   MCAT หรือ The Medical College Admission Test คืออะไร 
   TBAT หรือ Thai Biomedical Admission Test คืออะไร 

 
    อ่านประกาศปี 67 ที่นี่ : คลิกเลย
    เว็บไซต์ แพทย์อินเตอร์จุฬาฯ : https://cu-medi.md.chula.ac.th/