สอบเข้ามหาวิทยาลัย

รีวิว 9 สาขาวิศวกรรมศาสตร์ยอดฮิต เรียนอะไร ทำงานแบบไหน

วิศวกรรมศาสตร์ หนึ่งในคณะยอดนิยมตลอดกาล เป็นสายงานที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศและเป็นที่ต้องการของตลาดงานอยู่ทุกยุคสมัย บทความนี้ พี่ๆ จะมารีวิวให้น้องๆ ได้รู้จักกันว่า 9 สาขาวิศวกรรมศาสตร์ยอดฮิต เรียนอะไร เหมาะกับใคร ทำงานแบบไหน จะมีสาขาไหนและมีเรื่องน่ารู้อะไรบ้าง ตามมาอ่านกันได้เลยจ้าาา


วิศวกรรมเครื่องกล (MECHANICAL ENGINEERING)
- หนึ่งในสาขาหลักและเป็นสาขายอดฮิตของวิศวกรรมศาสตร์ เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดงานในทุกยุคสมัย 
- เรียน 4 ปี เกี่ยวกับการออกแบบและควบคุมใช้งานระบบทางกลไกของ เครื่องจักรอุปกรณ์ ยานยนต์ ระบบทางพลังงาน ระบบเชิงกายภาพหรือกลศาสตร์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานในภาคธุกิจ อาคารบ้านพักอาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม
- เหมาะกับคนที่เรียนแผนวิทย์-คณิต มีความสนใจเครื่องยนต์กลไก บริหารจัดการเวลาเก่ง คิดอย่างเป็นระบบ


วิศวกรรมไฟฟ้า (ELECTRICAL ENGINEERING)
- สาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฏีและการประยุกต์ใช้ ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่กว้างประกอบไปด้วยหลายสาขาย่อยเช่น สาขาไฟฟ้ากำลัง, สาขาไฟฟ้าระบบควบคุม, สาขาไฟฟ้าสื่อสารหรือโทรคมนาคม, สาขาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
- อาชีพสำหรับวิศวกรรมไฟฟ้ามีดังนี้ วิศวกรด้านไฟฟ้ากำลัง, วิศวกรด้านคอมพิวเตอร์, วิศวกรระบบควบคุมและเครื่องมือวัด, วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์, วิศวกรด้านโทรคมนาคม


วิศวกรรมโยธา (CIVIL ENGINEERING) 
- ออกแบบ วิเคราะห์โครงสร้าง ควบคุมการก่อสร้าง ตรวจสอบคุณภาพ พัฒนาวัสดุก่อสร้าง วิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และสำรวจพื้นที่ต่างๆ เช่น รางรถไฟ ถนนหนทาง สะพาน ตึกและอาคารบ้านเรือน
- วิศวกรรมโยธาเป็นคณะที่สาขาน่าเรียนเยอะมาก เช่น วิศวกรรมโครงสร้าง, วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ, วิศวกรรมเทคนิคธรณี, วิศวกรรมขนส่ง, วิศวกรรมสำรวจ, วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ, วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, วิศวกรรมธรณี
- เมื่อเรียนจบแล้วจะต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรจึงจะสามารถประกอบอาชีพได้
- อาชีพของสายวิศวกรรมโยธาคือ วิศวกรรมออกแบบ, วิศวกรก่อสร้าง, วิศวกรโครงการ


วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน (AEROSPACE ENGINEERING)
- เป็นสาขาวิศวกรรมเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการวิจัย ออกแบบ พัฒนา สร้างและทดสอบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ อากาศยาน และ อวกาศยาน
- มีสาขาเรียน 2 สาขาวิชาใหญ่ด้วยกัน คือ วิศวกรรมอากาศและอวกาศ, วิศวกรรมการบินและอวกาศ
- แม้จะดูใหม่ แต่สาขานี้มีอาชีพรองรับเยอะมาก เช่น วิศวกรออกแบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรมโครงสร้าง และอากาศพลศาสตร์, วิศวกรควบคุมการโคจรและสถานีดาวเทียม, วิศวกรควบคุมการซ่อมบำรุงอากาศยาน เครื่องยนต์เจ็ท ดาวมเทียม, วิศวกรด้านการบริหารการจัดการในภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจการบินและอวกาศ, วิศวกรด้านการจัดการธุรกิจการขนส่งทางอากาศ 


วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (COMPUTER ENGINEERING) 
- เรียนด้านระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเช่น Network การออกแบบระบบฝังตัวสมองกล  มัลติมีเดีย การเขียนโปรแกรมแบบขนานและกระจาย รวมทั้งการออกแบบเครือข่าย วิเคราะห์สัญญาณ
- เหมาะกับคนที่ชอบคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานอยากพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรม, ชื่นชอบเทคโนโลยี, รวมถึงพื้นฐานคณิตศาสตร์ การคิดวิเคราะห์
- สายงานค่อนข้างหลากหลายเป็นได้ทั้งผู้ออกแบบระบบและผู้ตรวจสอบระบบ, วิศวกรซอฟต์แวร์, นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์, นักพัฒนาเว็บไซต์, โปรแกรมเมอร์


วิศวกรรมเหมืองแร่ (MINING ENGINEERING) 
- เรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์  ธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ และ วิศวกรรมโยธา  การควบคุมการทำเหมืองแร่  การผลิตสินแร่  วัสดุศาสตร์  เทคโนโลยีปิโตรเลี่ยมและก๊าซธรรมชาติ
- เหมาะกับคนที่มีความสนใจในด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ, ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ, มีความขยันอดทน
- ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางสายราชการ เช่น กองเชื้อเพลิง กระทรวงอุตสาหกรรม, กรมพลังงานทหาร, กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และรัฐวิสาหกิจอย่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, บริษัทสำรวจปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย


วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (ENVIRONMENTAL ENGINEERING)
- เรียนการออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรมเคมี  รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี  กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้านเคมี  โดยจะต้องศึกษาทั้งด้านวิศวกรรมเครื่องกล และวิทยาศาสตร์เคมีมาประยุกต์ด้วยกัน
- ถึงจะเรียนสิ่งแวดล้อมแต่ก็เป็นอีกหนึ่งสาขาที่เน้นวิชาการคำนวณและฟิสิกส์
- อาชีพของวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คือ วิศวกรสิ่งแวดล้อมบริหารจัดการระบบ, นักวิจัย/นักวิชาการสิ่งแวดล้อม, ครู อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


วิศวกรรมอุตสาหการ (INDUSTRIAL ENGINEERING)
- เรียนด้านการจัดการ การออกแบบ และการควบคุมเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิตสมัยใหม่ ช่วยให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด การเพิ่มผลผลิตสูงสุด เพิ่มกำไรและประสิทธิการในการทำงาน โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมด้านต่างๆมาบริหารโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
- เป็นอีกหนึ่งสาขาที่จำเป็นต้องใช้วิชาพื้นฐานอย่างมากไม่ว่าจะเป็นวิชาคณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ การตลาด การบริหารจัดการ สารสนเทศ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และจิตวิทยาตลอดการศึกษาในคณะ/สาขานี้
- เหมาะกับคนที่สามารถจัดระบบความคิดได้ดี, มีทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า, เป็นคนช่างสังเกตและมีความคิดสร้างสรรค์
- สามารถทำงานสายวิศวะได้หลายตำแหน่งทั้งวิศวกรวางระบบ, วิศวกรโครงการ, วิศวกรโรงงาน, วิศวกรในหน่วยงานของรัฐ, วิศวกรในสถาบันการเงินและอุตสาหกรรม


วิศวกรรมเคมี (CHEMICAL ENGINEERING)
- เรียนเกี่ยวกับการออกแบบและควบคุมการทำงานของกระบวนการทางเคมี รวมถึงหลักการของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- เหมาะกับคนที่ถนัดวิชาการด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมี
- สายงานถือว่าค่อนขางหลากหลายมากสำหรับวิศวกรรมเคมี อย่างเช่น นักวิจัยด้านเคมี, วิศวกรออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิต, วิศวกรโครงการ, วิศวกรผลิต

คณะวิศวกรรมศาสตร์แม้จะผ่านมากี่ยุคกี่สมัยก็ยังเป็นคณะที่ผู้คนให้ความสนใจอยู่เสมอโดยเฉพาะช่วงโควิด-19 อาชีพสายงานด้านวิศวะความเสี่ยงในการตกงานนั้นน้อยกว่าสายอาชีพอื่นๆค่อนข้างเยอะ ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งข้อดีของอาชีพวิศวกรรม สำหรับใครที่ยังลังเลว่าจะศึกษาคณะวิศวกรรมดีหรือไม่ ? พี่ๆตอบตรงนี้เลยว่า ดีมาก ค่ะนอกจากสายงานที่มีรองรับแล้ว อนาคตของอาชีพยังไปได้ไกลอีกด้วย