รู้จักคณะสาขา
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
เรียนเกี่ยวกับ
จุดเด่นของหลักสูตร
“นักคิดผลิตงานภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลมืออาชีพ” มุ่งเน้นการเรียนที่เสริมสร้างทักษะด้านการผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลอย่างเจาะลึก ด้วยหลักสูตรที่ถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ได้อย่างมืออาชีพและครบวงจร ฝึกฝนฝีมือในห้องปฏิบัติงานพร้อมอุปกรณ์จริงระดับฮอลลีวู้ด สอนโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และอาจารย์พิเศษที่เป็นตัวจริงในวงการภาพยนตร์ ผสมผสานการเรียนทฤษฎีอย่างเข้มข้นเพื่อให้เข้าใจศาสตร์ของภาพยนตร์อย่างลึกซึ้ง เสริมสร้างกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ควบคู่การวางแผนการตลาดภาพยนตร์อย่างเป็นระบบ สู่การเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลกระแสหลักมืออาชีพ
กลยุทธ์ 4 Changes ได้แก่
1. Vision Change
สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ในการผลิตบัณฑิต ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และความเป็นมืออาชีพทางด้านภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล ที่ก้าวทันเทคโนโลยีในโลกยุคปัจจุบัน ภายใต้อัตลักษณ์ “นักสร้างภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล ผู้ออกแบบและผลิตผลงานสร้างสรรค์ ที่เชี่ยวชาญด้านสื่อสารการตลาดอย่างมืออาชีพ” เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมไปถึงการแข่งขันที่สูงขึ้น ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล ผู้ผลิตจึงต้องพัฒนาวิธีการ รูปแบบ และเนื้อหาสาระ ให้สอดคล้องกับความต้องการ ของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลในยุคปัจจุบัน จึงไม่ใช่แค่เพียงคิดได้ และทำเป็นเท่านั้น หากยังต้องสร้างความแตกต่างอย่างมีศิลปะ ผลิตผลงานคุณภาพที่สามารถตอบสนองตลาดที่กำลังขยายตัว เข้าใจ และเข้าถึงผู้บริโภคในโลกยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. Method Change
สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ปรับวิธีการเรียนการสอนเป็นขั้นตอนการเรียนรู้ตามลำดับดังนี้
ในชั้นปีการศึกษาที่ 1 เป็นการศึกษาพื้นฐานทางการสื่อสารเช่นทฤษฎีการสื่อสาร สื่อสารมวลชน การคิด การพูด การเขียน และการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อการสื่อสาร และในงานนิเทศศาสตร์ โดยมีการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งการเริ่มสร้างความรู้ความเข้าใจขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
ในชั้นปีการศึกษาที่ 2 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีทางภาพยนตร์ที่สูงขึ้น ทั้งในด้านศิลปะ สุนทรียศาสตร์ การลำดับความคิด การเล่าเรื่อง และการเขียนบท นอกจากนี้นักศึกษายังได้เริ่มต้นศึกษาพื้นฐานการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ การผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล รวมถึงการเน้นการเรียนการสอนที่เสริมสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาสาขาวิชานี้
ในชั้นปีการศึกษาที่ 3 เป็นการศึกษาที่เน้นความเป็นมืออาชีพของสาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล รวมถึงบริบทอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้นักศึกษามีความพร้อม เข้าสู่โลกการทำงานจริง ทั้งในด้านกลยุทธ์การตลาด และการบริหารงานผลิตภาพยนตร์ การเรียนทฤษฎีภาพยนตร์ต่างๆในเชิงคิดวิเคราะห์ และการได้เรียนรู้เทคนิคขั้นสูงในการผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
ในชั้นปีการศึกษาที่ 4 เป็นการเตรียมความพร้อมในขั้นสุดท้ายก่อนที่นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานภายนอกโดยการเตรียมตัวนี้เป็นการประมวลความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติโดยการจัดทำโครงงานหลังจากนั้นนักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติกับหน่วยงานภายนอกในภาคการศึกษาที่ 2
3. Teaching Materials Change
สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลเน้นการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลด้วยการใช้สื่อการสอน อุปกรณ์การเรียนการสอน (Teaching Materials) และสถานที่จัดการเรียนการสอนที่มีมาตรฐาน มีความทันสมัยเทียบเท่ามืออาชีพ นำมาซึ่งความสุขในการเรียน และ สามารถช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตผลงานของนักศึกษา รวมทั้งเสริมสร้าง ความเป็นมืออาชีพด้วยการปฏิบัติงาน สร้างสรรค์งาน และนำเสนองาน ภายใต้การดูแลให้คำปรึกษาจากทีมคณาจารย์ที่เปี่ยมด้วยประสบการณ์ และผู้เชียวชาญมืออาชีพในแต่ละสาขา จากวงการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
4. Student Change
บัณฑิตที่ผ่านการศึกษาจากหลักสูตรภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล จะมีความพร้อมทั้งทางด้านวิชาการความเชี่ยวชาญทางด้านการผลิตและมีความเป็นมืออาชีพทางด้านภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล พร้อมเข้าสู่การทำงานจริงในโลกยุคดิจิทัล ทันทีที่จบการศึกษา ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ถือได้ว่าหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (ภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล) เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ยิ่งใหญ่ ของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่เปิดการต้อนรับปีการศึกษาใหม่ 2558 อย่างสมภาคภูมิ
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
แนวทางการประกอบอาชีพ
- ผู้กำกับ, ผู้ช่วยผู้กำกับ
- ผู้กำกับภาพ, ผู้ช่วยผู้กำกับภาพ
- ผู้ลำดับภาพ และเทคนิคพิเศษ
- คนเขียนบทภาพยนตร์ บทละครโทรทัศน์ และบทต่างๆ
- ผู้ควบคุมการผลิต, ผู้จัดการกองถ่าย, ผู้อำนวยการสร้าง
- ผู้จัดหานักแสดง
- อาจารย์ด้านภาพยนตร์, นักเขียน และนักวิจารณ์ภาพยนตร์
- สามารถทำงานในส่วนต่างๆ ขององค์กรอื่นๆ ในวงการบันเทิง เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์, Production House ฯลฯ
ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
โอกาสหางานง่าย
7/10
ความยากง่ายในการเรียน
6/10
ตรงกับเทรนด์อนาคต
ดิจิตอล
ที่มาข้อมูล
http://www.spu.ac.th/commarts/courses/bachelors/film-digital-media/course-description