รู้จักคณะสาขา
คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว สาขาวิชาการจัดการการโรงแรม
เรียนเกี่ยวกับ
มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพด้านการโรงแรมเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งนักศึกษาจะได้รับการพัฒนาและฝึกฝนในรูปแบบที่พร้อมสรรพ โดยเป็นการบูรณาการวิชาการด้านศิลปศาสตร์และการจัดการเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงความสามารถทั้งทางทักษะด้านการคิด วิเคราะห์ การแก้ปัญหาและด้านอื่นๆซึ่งจะส่งผลให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในวิชาชีพ นอกจากการเรียนการสอนภาคทฤษฎี นักศึกษาจะมีโอกาสฝึกฝนเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ โดยการฝึกภาคปฏิบัติภายในห้องปฏิบัติการอันทันสมัย และเพียงพอต่อการให้บริการแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งมีการฝึกปฏิบัติงานหรือสหกิจศึกษากับหน่วยงานภายนอกที่ลงนามความร่วมมือกับสาขาวิชาฯ ได้แก่ โรงแรมที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ รวมถึงโอกาสการฝึกงานในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศในทวีปเอเชีย
คุณสมบัติ
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือ ประกาศนียบัตรอื่นๆที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอก เขตโรงเรียนสายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
2. ต้องไม่เป็นผู้กำลังศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ร่วมในการคัดเลือกนี้ เว้นแต่ได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน
3. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกแผนการเรียน หรือเทียบเท่า
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
แนวทางการประกอบอาชีพ
1. ธุรกิจที่พักแรม เช่น ผู้จัดการสำนักงานส่วนหน้า (Front Office Manager) พนักงานต้อนรับ (Receptionist) พนักงานสำรองห้องพัก (Reservation Officer) เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก (Concierge) หัวหน้าแผนกแม่บ้าน (Executive Housekeeper) หัวหน้าแม่บ้าน (Head Housekeeper) หัวหน้าห้องผ้า (Linen Room Supervisor) ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Manager) ผู้จัดการห้องอาหาร (Restaurant Manager) หัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ (Head Waiter/ Waitress) พนักงานเสิร์ฟอาวุโสประจำเขต (Station Waiter/ Waitress) พนักงานแนะนำไวน์ (Sommellier หรือ Wine Waiter/ Wine Waitress) หัวหน้าแผนกครัว (Executive Chef) ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกครัว (Sous Chef) หัวหน้าครัว/หัวหน้าหน่วยในครัว (Chef de Partie/ Section Chef) ผู้ช่วยพ่อครัว (Commis Chef/ Cook Helper) พนักงานครัวฝึกหัด (Apprentice/ Trainee Chef) ผู้จัดการฝ่ายจัดเลี้ยง (Banquet Manager) พนักงานจัดเลี้ยง (Banquet Staff) ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด (Marketing and Sales Manager) พนักงานขายและการตลาด (Marketing and Sales Officer)
2. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Manager) ผู้จัดการห้องอาหาร (Restaurant Manager) หัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ (Head Waiter/ Waitress) พนักงานเสิร์ฟอาวุโสประจำเขต (Station Waiter/ Waitress) พนักงานแนะนำไวน์ (Sommellier หรือ Wine Waiter/ Wine Waitress) หัวหน้าแผนกครัว (Executive Chef) ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกครัว (Sous Chef) หัวหน้าครัว/หัวหน้าหน่วยในครัว (Chef de Partie Section Chef)
3. ธุรกิจการประชุมและการแสดงสินค้า เช่น พนักงานประสานงานการประชุมและแสดงสินค้า (Meeting Convention and Exhibition Coordination Officer) พนักงานขายและการตลาด (Marketing and Sales Officer) พนักงานวางแผนและดำเนินการจัดกิจกรรมพิเศษ (Special Events Planning Officer)
4. ผู้ประกอบการ ธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจการประชุมและการแสดงสินค้า ธุรกิจร้านกาแฟ ธุรกิจร้านเบเกอรี่ ธุรกิจร้านดอกไม้ ธุรกิจร้านซักรีด
ที่มาข้อมูล
http://hu.bu.ac.th/course_hotel
http://www.dek-d.com/activities/28259
https://blog.eduzones.com/yingmass/138612
http://www.spu.ac.th/liberal-arts/courses/bachelors/hotel-management
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9550000020650
http://www.bu.ac.th/tha/academic-school-of-humanities-and-tourism-management.html
http://www.elearneasy.com/list_news_edu.php?news_colum=2.3&news_group=2&news_colum_thai=study_guide