รู้จักคณะสาขา

คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินและธนาคาร

เรียนเกี่ยวกับ

UploadImage
 
ศึกษาในเรื่องของการวิเคราะห์ การวางแผน และควบคุมการเงิน ระบบการจัดการด้านการเงินขององค์กรในรูปแบบต่างๆ ของห้างหุ้นส่วน บริษัท รัฐวิสาหกิจ การบริหารสินเชื่อ บทบาทและความสำคัญของตลาดการเงิน สถาบันการเงินกับธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศ โดยจะทำให้มีทักษะในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน ของบริษัทหรือหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน มีความรู้ในการวิเคราะห์และการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานธุรกิจ และจัดการการเงินของตนเอง มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ ตลอดจนตราสารอนุพันธ์ต่างๆ

คุณสมบัติ

1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ  หรือสายอาชีพหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ
2. เป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหา
3. สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล
4. สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
5. สามารถรับรู้ในวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ดี
6. ควรมีความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษดีพอสมควร

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

# มหาวิทยาลัย คณะ/สาขา
1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน           
2 มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร สาขาการเงินและการธนาคาร          
3 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาการบริหารการเงิน          
4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงิน          
5 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาบริหารธุรกิจ(การเงิน)          
6 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน          
7 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน          
8 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารธุรกิจแขนงวิชาการเงินการธนาคาร          
9 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงินการธนาคาร          
10 มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการธนาคาร          
11 มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาการเงินและการธนาคาร          
12 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงินและการธนาคาร          
13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงินการธนาคาร          
14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงินและการธนาคาร          
15 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงินและการธนาคาร          
16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาบริหารธุรกิจ(การเงิน)          
17 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาการเงิน และการคลัง          
18 มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาการเงินการธนาคาร          
19 มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงินการธนาคาร          
20 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงิน          
21 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ คณะบริหารธุรกิจ สาขาเศรษฐศาสตร์การเงินและการคลัง          
22 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงินการธนาคาร          
23 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงินการธนาคาร          
24 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารธุรกิจแขนงวิชาการเงินการธนาคาร          
25 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงิน          
26 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน          
27 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน          
28 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน        
29 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช คณะเทคโนโลยีการจัดการ สาขาการเงิน          
30 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน          
31 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาการเงิน          
32 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน        
33 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายการเงินและภาษีอากร          
34 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการเงิน          
35 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการเงินเชิงปริมาณ          
36 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการธนาคารและการเงิน          
37 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาวิศวกรรมการเงิน          
38 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์และการเงินระหว่างประเทศ          
39 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน          
40 มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน          
41 มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงิน          
42 มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย สาขาการเงิน          
43 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจการเงินและการธนาคาร          
44 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการเงิน        
45 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการบริหารการเงิน          
46 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะการจัดการและการท่องเที่ยว สาขาการเงิน          
47 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาลัยนานาชาติ สาขาการเงิน          
48 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สาขาการเงิน          
49 มหาวิทยาลัยพะเยา วิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ สาขาการเงินและการธนาคาร          
50 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงิน          
51 มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการธนาคาร          
52 มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชีและการเงิน          
53 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาการเงิน          
54 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน          
55 มหาวิทยาลัยเกริก คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน และการธนาคาร          
56 มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการธนาคาร          
57 มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน          
58 มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด บัณฑิตวิทยาลัย สาขาการธนาคารและการเงิน          
59 มหาวิทยาลัยพายัพ คณะบัญชี การเงินและการธนาคาร สาขาการเงินและการธนาคาร          
60 มหาวิทยาลัยพายัพ คณะบัญชี การเงินและการธนาคาร สาขาการบัญชี        
61 มหาวิทยาลัยรังสิต คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการลงทุน          
62 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจการเงินและการธนาคาร          
63 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต คณะบัญชี การเงินและการธนาคาร สาขาการจัดการการตลาด          
64 มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการธนาคาร          
65 มหาวิทยาลัยสยาม คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการธนาคาร          
66 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน          
67 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมการเงิน          
68 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิศวกรรมการเงิน          
69 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน          
70 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการธนาคาร          
71 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและเศรษฐศาสตร์          
72 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน          

แนวทางการประกอบอาชีพ

ผู้ที่จบสาขาวิชาการเงินสามารถเลือกเส้นทางอาชีพสายตรงได้ 4 สายหลักๆ คือ

1. สายการธนาคาร (Banking)
นักวิเคราะห์การเงิน (Financial Analyst)
นักวิเคราะห์สินเชื่อ (Credit Analyst)
นักวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Analyst)
นักการธนาคาร (Banker)

2. การเงินของบริษัท (Corporate Finance)
เจ้าหน้าที่บริหารทางการเงิน (Financial Officer)
เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
ผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

3. สายหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ (Securities and Investment Banking)
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securities Analyst)
วาณิชธนากร (Investment Banker)
ผู้ขายตราสารอนุพันธ์ (Derivative Trader)
นักวิเคราะห์ตราสารอนุพันธ์ (Derivative Analyst)

4. สายจัดการลงทุน (Fund Management)
ผู้จัดการกองทุน (Fund Manager)
ผู้จัดการกองทุนตราสารอนุพันธ์ (Derivative Fund Manager)
ที่ปรึกษาการลงทุน (Investment Advisor)
นักวางแผนทางการเงิน (Financial planner)

ที่มาข้อมูล

http://forum.eduzones.com/topic/4597
http://www.dpu.ac.th/business/finance.html
http://www.bec.nu.ac.th/mis2012/read.php?id=1590
http://busfinance.dusit.ac.th/pages/content.php?mod=activity&act=thumb_view
http://msc.sru.ac.th/th/course-prospective-student/course/finance-and-banking.html

SHARED