รู้จักคณะสาขา
คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
เรียนเกี่ยวกับ
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นการบูรณาการความรู้ของศาสตร์เชิงวิชาการต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของธุรกิจ และสร้างให้บุคลากรเกิดแนวคิดเชิงระบบ กล่าวคือ ไม่ได้พิจารณาเพียงแค่แผนก หรือหน่วยงาน หรือองค์กรหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาทั่วทั้งองค์กร ไปตลอดจนพันธมิตรทางธุรกิจในทุกๆ ส่วน และต้องคำนึงถึงวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ด้วย (ตั่งแต่เริ่มผลิตสินค้า จนถึงสินค้าหมดอายุ และการทำลายสินค้า) ส่งผลให้เกิดผลลัพทธ์ทางด้าน ต้นทุน เวลาที่เหมาะสม และคุณภาพของสินค้าที่ลูกค้าต้องการ
งานของโลจิสติกส์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
กิจกรรมการเคลื่อนย้าย ประกอบด้วย การขนส่ง การเคลื่อนย้ายของข้อมูลข่าวสาร เช่น ความต้องการของลูกค้า การเคลื่อนย้ายของเงินทุน เป็นต้น
กิจกรรมการจัดเก็บและควบคุมสินค้า ประกอบด้วย การจัดซื้อ-จัดหา การจัดการคลังสินค้า การจัดการสินค้าคงคลัง
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้า ประกอบด้วย ศูนย์กระจายสินค้า การบรรจุภัณฑ์ การส่งมอบสินค้า
คุณสมบัติ
1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)หรือเทียบเท่า
2. ผู้ที่สนใจศึกษาทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ควรเป็นผู้ที่ชอบทางด้านการบริหารธุรกิจแบบสมัยใหม่ มีวิสัยทัศน์และชอบวิเคราะห์วางแผนตลอดจนต้องเป็นผู้ที่สนใจทางด้านการจัดการขององค์กรธุรกิจต่างๆ
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
แนวทางการประกอบอาชีพ
ในภาคปฏิบัติผู้เรียนจะได้ศึกษาดูงาน และเข้าโครงการสหกิจศึกษาหน่วยงานด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทานที่มีชื่อเสียง ดังนั้น บัณฑิตสาขาวิชาการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทานจะมีความพร้อมในองค์ความรู้ทางทฤษฎี และภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอที่จะสร้างธุรกิจด้วยตนเอง และเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในสายงานด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน
อาชีพทางด้านการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทานเป็นการบูรณาการความรู้ในทุกๆ ด้านเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร ดังนั้นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสายงานนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญก็คือ
1. ตำแหน่งงานในองค์กร
งานจัดซื้อ จัดหา จะต้องทราบถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบ หลักการเจรจาต่อรอง การประมาณการความต้องการที่แม่นยำ หลักเกณฑ์ในการชำระเงิน เทคโนโลยีที่ใช้ในงานจัดซื้อจัดหา การจัดการความสัมพันธ์กับผู้ขายปัจจัยการผลิต เช่น การร่วมกันวางแผนการสั่งซื้อ เป็นต้น
งานคลังสินค้า จะต้องทำการวางแผนการใช้พื้นที่ภายในคลังสินค้า หลักการจัดเก็บสินค้า การใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน ปริมาณของสินค้าที่เหมาะสม การแบ่งประเภทของสินค้า การวางแผนการจัดเก็บและจัดส่งสินค้า เป็นต้น
งานขนส่งสินค้า เกี่ยวข้องกับการวางแผนการขนส่ง การกำหนดเส้นทางการขนส่ง วิธีการกระจายสินค้าที่เหมาะสม การใช้ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งขาไปและขากลับ การพัฒนาวิธีการจัดส่งเพื่อลดเวลาในการจัดส่งสินค้า เป็นต้น
งานด้านสารสนเทศ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ตั้งแต่ความต้องการของลูกค้า ปัญหาที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลด้านการไหลของสินค้า การไหลของข้อมูลข่าวสาร และการไหลของเงิน ข้อมูลของคลังสินค้า ข้อมูลของผู้ขายปัจจัยการผลิต เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กร
งานด้านลูกค้าสัมพันธ์ เป็นการดูแลจัดการลูกค้า อาทิเช่น การจัดการร้านค้าปลีก เป็นการช่วยพัฒนาร้านค้าในด้านการวางแผนการสั่งซื้อ การจัดเก็บสินค้า การจัดหน้าร้าน การประสานข้อมูลกับลูกค้า
อื่นๆ เช่น งานลดต้นทุน การวางแผนการบำรุงรักษา
2. งานที่ปรึกษา
นักวิเคราะห์และปรับปรุงธุรกิจ จะต้องเข้าใจถึงระบบโดยรวมของธุรกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา การหาแนวทางในการพัฒนาองค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการลดต้นทุน
การฝึกอบรม เทคนิคต่างๆ ด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การให้คำปรึกษาหน่วยงาน
ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
โอกาสหางานง่าย
7/10
ความยากง่ายในการเรียน
7/10
ตรงกับเทรนด์อนาคต
อาเซียน
ที่มาข้อมูล
http://www.bwlogistics.co.th/readnews.php?news=4
https://blog.eduzones.com/futurecareerexpo/101312
http://host.siamtechu.net/gallery.php?main_id=654#3
http://business.utcc.ac.th/index.php/bba-program-in-logistic-management
http://msc.sru.ac.th/th/course-prospective-student/course/logistics-management.html
http://log.buu.ac.th/weblog/index.php/2013-07-25-12-19-02/2013-07-25-12-32-20/338-2013-11-12-09-27-23
http://www.spu.ac.th/business/courses/bachelors/logistic-management