รู้จักคณะสาขา
คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
เรียนเกี่ยวกับ
ศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร และวิศวกรรมอาหาร เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงองค์ประกอบและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของอาหาร ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยี อุปกรณ์ และเครื่องจักรชนิดต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกระบวนการแปรรูปอาหารในระดับอุตสาหกรรม และยังต้องศึกษากลุ่มวิชาที่เจาะลึกลงไปทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร ทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารเบื้องต้น เคมีอาหาร การวิเคราะห์อาหาร กฎหมายและมาตรฐานอาหาร การประกันคุณภาพอาหาร วิศวกรรมอาหาร การแปรรูปอาหารจุลชีววิทยาทางอาหาร
คุณสมบัติ
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือ ประกาศนียบัตรอื่นๆที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอก เขตโรงเรียนสายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
2. ต้องไม่เป็นผู้กำลังศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ร่วมในการคัดเลือกนี้ เว้นแต่ได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน
3. ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
# | มหาวิทยาลัย | คณะ/สาขา | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปวช. | ปวส. | ป.ตรี | ป.โท | ป.เอก | |||
1 | มหาวิทยาลัยนครพนม | วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีอาหาร | |||||
2 | มหาวิทยาลัยนเรศวร | คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์ | |||||
3 | มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ | คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีอาหาร | |||||
4 | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | |||||
5 | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีอาหาร | |||||
6 | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | |||||
7 | มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีอาหาร | |||||
8 | มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี | คณะเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | |||||
9 | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีอาหาร | |||||
10 | มหาวิทยาลัยทักษิณ | เทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | |||||
11 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี | สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาเทคโนโลยีอาหาร | |||||
12 | มหาวิทยาลัยบูรพา | คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีอาหาร | |||||
13 | มหาวิทยาลัยบูรพา | คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | |||||
14 | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | เทคโนโลยีการเกษตร สาขาเทคโนโลยีอาหาร | |||||
15 | มหาวิทยาลัยพายัพ | คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | |||||
16 | มหาวิทยาลัยรังสิต | คณะเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาเทคโนโลยีอาหาร | |||||
17 | มหาวิทยาลัยสยาม | คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีอาหาร |
แนวทางการประกอบอาชีพ
สามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือเป็นนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการในหน่วยงานของรัฐบาล เช่น สถานศึกษาต่าง ๆ องค์การอาหารและยา โรงพยาบาล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์ กรมปศุสัตว์ หรือในบริษัทเอกชน เช่น นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ พนักงานด้านการผลิต การควบคุมประกันคุณภาพกลุ่มสาระการผลิต พนักงานฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร งานทางด้านบรรจุภัณฑ์ทางด้านอาหาร ผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เครื่องมือแพทย์ สารเคมี สารปรุงแต่อาหาร หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ในสถาบันการศึกษาของรัฐ และเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
ที่มาข้อมูล
http://www.agr.rmutt.ac.th/?p=23881
http://www.profirk.ru/work/profession/1512
http://www.photo.rmutt.ac.th/archives/5456
http://www.eng.su.ac.th/_2012/ft-department-gallery.php
http://www.phrae.mju.ac.th/program/FoodTech/index.php/2013-02-22-04-43-37