รู้จักคณะสาขา
คณะทันตแพทย์ สาขาทันตแพทยศาสตร์
เรียนเกี่ยวกับ
ทันตแพทย์จะใช้เวลาศึกษา 6 ปี ซึ่งจะมีการศึกษาสาขาเฉพาะทาง ดังนี้
1. สาขาปริทันตวิทยา ถ้าเรียนเฉพาะทางสาขานี้จะได้ลงลึกเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวกับเหงือกและอวัยวะรอบๆ ฟัน ซึ่งเกิดมาจากแบคทีเรียและดูแลรักษาฟันไม่สะอาด จนเกิดคราบหินปูน เหงือกบวมแดง เหงือกร่น ฯล จะรักษาด้วย การขูดหินปูน การเกลารากฟัน เป็นต้น
2. สาขาทันตกรรมหัตถการ กลุ่มวิชาทันตกรรมหัตถการ จะเรียนเกี่ยวกับการบูรณะฟันให้กลับมาใกล้เคียงกับสภาพเดิม เช่น ถ้าฟันกรามผุ แทนที่จะถอนฟันก็ให้มาอุดฟันแทน ทำให้ใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งในระดับปริญญาตรี จะได้เรียนการอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันชนิดต่างๆ
3. สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เป็นสาขาเฉพาะทางสาขาเดียวที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การถอนฟันธรรมดา ถอนฟันคุด การผ่าตัดกระดูกในช่องปาก ผ่าตัดขากรรไกร ในระดับปริญญาตรีจะศึกษาแค่แค่การถอนฟันและถอนฟันคุดเท่านั้น หากไมได้ศึกษาต่อทางด้านนี้จะไม่สามารถรักษาคนไข้ด้วยวิธีการผ่าตัดได้ เพราะถือว่าเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ถ้าไม่ชำนาญพอจะยิ่งเป็นอันตรายได้
4. สาขาทันตสาธารณสุข เป็นสาขาที่ไม่เน้นงานในคลินิค แต่เป็นการลงภาคสนาม เข้าหาชุมชน เน้นการบริหาร จัดการ วางแผน และการประยุกต์ความรู้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน เพื่อช่วยให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น
5. สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ เป็นการศึกษาการบูรณะฟัน อวัยวะในช่องปาก ใบหน้าและขากรรไกร ด้วยวัสดุประเภทต่างๆที่ประดิษฐ์ขึ้น ให้คงไว้ซึ่งการทำงาน ความสะดวกสบาย และความสวยงามของช่องปาก โดยการบูรณะฟันธรรมชาติ ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป
6. สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก เป็นการรักษาช่องปากของเด็ก แม้ว่าขั้นตอนการรักษาช่องปากในวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่จะไม่ต่างกันมาก แต่สิ่งที่ต่างกันคือ วิธีการจัดการรักษา เพราะการรักษาฟันในเด็กจะต้องอาศัยจิตวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะได้เรียนกันอย่างละเอียดถ้าได้เรียนต่อเฉพาะทาง
7. สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ เป็นทันตแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญ เกี่ยวกับการรักษาคลองรากฟัน ซึ่งอาจเกิดจากฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน หรือฟันแตก หัก ทำให้เกิดการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดโพรงประสาทฟันอักเสบ มีอาการปวดฟัน
8. สาขาทันตกรรมจัดฟัน เป็นทันตแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการจัดเรียงฟัน การเคลื่อนฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อให้เกิดความสวยงาม และการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการดูแลและทำความสะอาด
9. สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก เป็นการศึกษาต่อเนื่องสาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบวุฒิบัตร
คุณสมบัติ
1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทางด้านสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
2. มีคุณสมบัติที่จะเข้ารับราชการได้ โดยก่อนเข้าศึกษาจะต้องทำสัญญาเมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องทำงานเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีติดต่อกัน
ต้องเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรค หรือความพิการที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและประกอบวิชาชีพทันตกรรม
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
# | มหาวิทยาลัย | คณะ/สาขา | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปวช. | ปวส. | ป.ตรี | ป.โท | ป.เอก | |||
1 | มหาวิทยาลัยนเรศวร | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์ | |||||
2 | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ | |||||
3 | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ | |||||
4 | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์ | |||||
5 | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาการสุขภาพช่องปากประยุกต์ | |||||
6 | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทยคลีนิก | |||||
7 | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก | |||||
8 | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล | |||||
9 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาชีววิทยาช่องปาก | |||||
10 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมจัดฟัน | |||||
11 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมบดเคี้ยว | |||||
12 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมบูรณะเพื่อความสวยงามและทันตกรรมรากเทียม | |||||
13 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ | |||||
14 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก | |||||
15 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมหัตถการ | |||||
16 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์ | |||||
17 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตสาธารณสุข | |||||
18 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาปริทันตวิทยา | |||||
19 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาปริทันตศาสตร์ | |||||
20 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขารังสีวิทยาช่องปากและใบหน้า | |||||
21 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก | |||||
22 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ | |||||
23 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาเวชศาสตร์ช่องปาก | |||||
24 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล | |||||
25 | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาEXERCISE AND SPORT | |||||
26 | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ | |||||
27 | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมจัดฟัน | |||||
28 | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมบูรณะ | |||||
29 | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ | |||||
30 | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์ | |||||
31 | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก | |||||
32 | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล | |||||
33 | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมจัดฟัน | |||||
34 | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์ | |||||
35 | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาปริทันตวิทยา | |||||
36 | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ | |||||
37 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์ | |||||
38 | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนยรังสิต | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรม | |||||
39 | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนยรังสิต | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์ | |||||
40 | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนยรังสิต | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก | |||||
41 | มหาวิทยาลัยพะเยา | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์ | |||||
42 | มหาวิทยาลัยมหิดล | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์ | |||||
43 | มหาวิทยาลัยรังสิต | คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์ |
แนวทางการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ สามารถประกอบอาชีพได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์สอน และวิจัยทางด้านทันตแพทยศาสตร์ ประกอบอาชีพทันตแพทย์ในคลินิกส่วนตัว หรือโรงพยาบาลเอกชนหรือเป็นทันตแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหมกระทรวงมหาดไทย รัฐวิสาหกิจ สภากาชาดไทย เป็นต้น
ที่มาข้อมูล
http://www.cccthai.org
http://www.endmo6.com
http://www.manager.co.th
http://www.dent.cmu.ac.th
http://www.trueplookpanya.com
https://nussarakorn.wordpress.com
http://www.ssdentalclinicchiangmai.com
http://www2.rsu.ac.th/Institution/Dental-Medicine
http://daily.bangkokbiznews.com/home/20130608
https://blog.eduzones.com/futurecareerexpo/102065
http://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/TNPBH5805250010005