TCAS รอบที่ 2 โครงการผลิตแพทย์เพิ่ม (กระทรวงสาธารณสุข)

มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2561
โพสเมื่อ : 01 ก.พ. 61 17:46 น. สนใจสมัคร : 20
ปิดรับ พิมพ์
รับสมัคร
08 ม.ค. 2561 - 27 ก.พ. 2561
ชำระเงิน
08 ม.ค. 2561 - 28 ก.พ. 2561
ประกาศรายชื่อมีสิทธิ์สอบ
18 เม.ย. 2561
ประกาศผลคัดเลือก
23 เม.ย. 2561
สัมภาษณ์
25 เม.ย. 2561
ประกาศผลสุดท้าย
08 พ.ค. 2561
ตัดสิทธิ์ใน TCAS รอบถัดไป
ตัดสิทธิ์

เปิดรับ : 1 สาขา จำนวน : 16 ที่นั่ง


ลำดับ คณะ/สาขา ที่นั่ง เกรด สาย  
1. หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต 16 ไม่ใช้ วิทย์-คณิต, จบ ม.6

GAT/PAT

สัมภาษณ์
ลิงค์ระเบียบการ
ลิงค์รับสมัคร
กำหนดการรับสมัคร



คุณสมบัติของผู้สมัคร  

            คุณสมบัติทั่วไป   
            -  มีสัญชาติไทย และเป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข   
            -  เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่างๆของรัฐได้หลังจากจบการศึกษาแล้ว โดยต้องสามารถทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียวหรือสัญญาปลายเปิดกับรัฐบาล ตามระเบียบและเงื่อนไขของรัฐบาลกับมหาวิทยาลัย     
            -  ไม่เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในมหาวิทยาลัย/ สถาบันของรัฐในปีการศึกษา 2561 ตามโครงการพิเศษต่าง ๆ ที่ได้ยืนยันสิทธิ์กับสถาบันที่คัดเลือกไว้เรียบร้อยแล้ว   
            -  เป็นผู้กำลังศึกษาอยู่และคาดว่าจะจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ก่อนเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6)  หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าของกระทรวงศึกษาธิการ  โดยจะต้องศึกษาในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์   
            -  ไม่เป็นผู้ที่กำลังศึกษาเกินชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาของรัฐ ยกเว้น ได้ลาออกจากการศึกษาก่อนวันยื่นใบสมัคร (หากมีการลงทะเบียนในรายวิชาบังคับของชั้นปีที่สูงกว่าปีที่ 1 จะถือว่าศึกษาในชั้นปีที่เกินชั้นปีที่ 1)  -  เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี และรับรองต่อมหาวิทยาลัยได้ว่าจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน อย่างเต็มความสามารถ และจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีต่อไป โดยเคร่งครัดทุกประการ     
            -  ไม่เป็นผู้ที่ถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆ มาแล้ว เพราะความประพฤติไม่ เหมาะสม หรือกระทำความผิดตามกฎหมาย    
            -  ไม่เป็นผู้ที่ถูกลงโทษเนื่องจากกระทำหรือร่วมกระทำการทุจริตในการสอบในโรงเรียน หรือการสอบเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาในระดับต่างๆ    
            -  ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการ อันเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย  อันตรายต่อนิสิตแพทย์เอง  อุปสรรคต่อการศึกษา  การปฏิบัติงาน  และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  ดังต่อไปนี้    
                    - มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง หรือผู้อื่นเช่น โรคจิต (Psychotic Disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) โรคประสาทรุนแรง (Severe Neurotic Disorders) โรคบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorders) โดยเฉพาะ Antisocial Personality Disorders หรือ  Borderline Personality Disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม    
                    - เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา  การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม    
                    - เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิด อันตรายต่อตนเอง  ต่อผู้ป่วย  และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม    
                     - มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม 
                     - มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 – 2,000  เฮิรตซ์  สูงกว่า  40 เดซิเบล  และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (Speech Discrimination Score) น้อยกว่ำร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (Sensor Neural Hearing Loss)  อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม    
                     - ความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกาย ของสถาบันนั้นๆ เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไข
                     - โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา  การปฏิบัติงาน  และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม 
  
            คุณสมบัติเฉพาะ   
            -  ผู้สมัคร หรือบิดาผู้ให้กำเนิด หรือมารดาผู้ให้กำเนิด มีที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน อยู่ใน 6 จังหวัด ดังต่อไปนี้ คือ  ชลบุรี  ระยอง  จันทบุรี  ตราด  สระแก้ว และปราจีนบุรี ไม่น้อยกว่า 3 ปี ต่อเนื่องกันในปัจจุบัน นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร (มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก่อนวันที่ 28 ก.พ. 2558)  
 
 
 
เงื่อนไขการสมัคร   
           -  ก่อนเข้าศึกษา ต้องทำสัญญากับกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้ผู้รับทุนต้องปฏิบัติงาน ในหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นระยะเวลา 3 ปี หลังจากสำเร็จการศึกษา แล้วตามระเบียบและเงื่อนไขที่กำหนด   
           -  เมื่อผู้ผ่านการสอบคัดเลือกได้รายงานตัวออนไลน์เพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยบูรพา เรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยจะส่งรายชื่อไปยังที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ต่อไป  

           * หากปรากฏภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติ ตามข้อใดข้อหนึ่ง หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ  หรือจงใจปกปิดข้อมูล ผู้นั้นจะถูกตัดสิทธิ์ในการคัดเลือกครั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นนิสิต แล้วก็ตาม จะถูกถอนสภาพการเป็นนิสิต 



การชำระค่าธรรมเนียมการสมัครคัดเลือก   
           -  ค่าธรรมเนียมการสมัครคัดเลือก จำนวน 500 บาท 
           -  นำใบแจ้งการชำระเงินที่พิมพ์จากอินเตอร์เน็ตไปชำระเงินที่ธนาคารกรุงไทยและที่ทำการไปรษณีย์ ทุกสาขาทั่วประเทศ 8 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 
           -  ในกรณีที่มีการชำระเงินค่าสมัครหลายครั้ง มหาวิทยาลัยจะใช้ใบสมัครที่มีการชำระเงินครั้งสุดท้ายเป็นสำคัญ 

หมายเหตุ    มหาวิทยาลัยบูรพาจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น 
 
 
 
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษา 
       -  ผลคะแนนวิชาความถนัดทั่วไป (GAT)                    ร้อยละ  30 
       -  ผลคะแนนวิชาความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1)   ร้อยละ  20 
       -  ผลคะแนนวิชาความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2)  ร้อยละ  50 
       -  การสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย                        ผ่าน/ไม่ผ่าน 

หมายเหตุ    
          - มหาวิทยาลัยจะพิจารณาตัดสินการคัดเลือกให้เฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติ เฉพาะตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด       
          - มหาวิทยาลัยบูรพาจะพิจารณาตัดสินการคัดเลือกให้เฉพาะผู้ที่มีผลคะแนนครบทุกวิชา ที่กำหนดเท่านั้น  ผู้สมัครที่ไม่มีผลคะแนนตามที่กำหนดจะไม่สามารถสมัครคัดเลือกได้  หากทำการสมัคร  มหาวิทยาลัยบูรพาจะถือว่าการสมัครนั้นเป็นโมฆะและมหาวิทยาลัยบูรพาจะไม่พิจารณาคัดเลือกให้        
          - มหาวิทยาลัยบูรพาจะคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย โดยใช้วิธีการดังนี้ 
                     - ประมวลผลคะแนนจากการสอบ GAT/PAT ให้เป็นคะแนนรวม 100 % (มหาวิทยาลัยจะพิจารณาคะแนน GAT/PAT ประจำปีการศึกษา 2561 หรือ ที่ทำการสอบ ระหว่างเดือนส.ค. 2560 – เดือน ก.ค. 2561 เท่านั้น 
                     - เรียงลำดับผู้สมัคร จากผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดไปยังผู้ที่ได้คะแนนต่ำสุด 
                     - ทำการคัดเลือกผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายตามจำนวนรับ โดยพิจารณา จากผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นลำดับแรกจนถึงผู้ที่ได้คะแนนในลำดับสุดท้ายของจำนวนรับและจำนวนสำรอง อีกจำนวนหนึ่ง        
           -  ในวันสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย  มหาวิทยาลัยจะตรวจสอบคุณสมบัติ  หากตรวจสอบพบว่า คุณสมบัติของผู้สมัครไม่เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดหรือข้อมูลการสมัครเป็นเท็จ  มหาวิทยาลัยจะตัดสิทธ์ในการเข้าเป็นนิสิต
                  
          มหาวิทยาลัยบูรพาจะพิจารณาจากผลคะแนน GAT/PAT และคุณสมบัติเฉพาะที่กำหนดไว้ในการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย และการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพาขอสงวนสิทธิ์ไม่จำเป็นที่จะรับผู้สมัครเข้าศึกษาตามจำนวนรับที่ได้ประกาศไว้  หากผลการคัดเลือกไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่คณะได้กำหนดไว้ และผลการตัดสินของคณะกรรมการฯ ถือเป็นอันสิ้นสุด 
 
 




***น้องๆ ต้องอ่านระเบียบการของมหาวิทยาลัยให้ละเอียด เพื่อป้องกันความผิดพลาด***

 
โปรแกรมรับตรงของมหาวิทยาลัยบูรพาทั้งหมด คลิกที่นี่

ดูโครงการรับตรงอื่น ๆ
มหาวิทยาลัยร่วมส่งข่าวรับตรง